การนำนโยบายการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสู่การปฏิบัติ ในพื้นที่อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • วรรณี สินปักษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สุวรัฐ แลสันกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์, นโยบายสาธารณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์การนำนโยบายการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสู่การปฏิบัติในพื้นที่อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง และเพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการนำนโยบายการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพื้นที่อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 24 คนได้แก่ ผู้บริหารเทศบาล เจ้าหน้าที่ ตัวแทนภาครัฐ และประชาชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเรียบเรียงเสนอโดยวิธีพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า ในพื้นที่มีกลไกประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมผู้ปกครองได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดีเรื่องเพศวิถี ขณะที่สถานศึกษาได้บรรจุเรื่องเพศวิถี ในรายวิชาที่สอนพร้อมจัดอบรมเตรียมความพร้อมแก่ครูผู้สอน มีการออกแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงการทำงานจากเดิมที่หน่วยงานต่าง ๆ แยกกันทำ มาเป็นแบบบูรณาการ ซึ่งทำให้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีแนวโน้มดีขึ้น ขณะเดียวกันพบว่า การรณรงค์สื่อสารเพื่อให้เด็กเยาวชนได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบ และผลที่ตามมาจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อมได้ผลดีขึ้น หน่วยบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นได้มีการเชื่อมประสานงานที่ดีขึ้น และมีระบบข้อมูลในพื้นที่ทั้ง 3 แห่ง เพื่อติดตามความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง สามารถใช้ระบบฐานข้อมูลเดียวกันเพื่อประเมินผลและพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น และพบผลวิจัยอีกว่า บางชุมชนไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร แนวทางแก้ไขคือ สร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง ชุมชน ถึงความจำเป็นในการสอนเพศศึกษาแก่บุตรหลาน เพื่อได้เรียนรู้การสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มมากขึ้น ปัญหางบประมาณไม่เพียงพอโครงการไม่ต่อเนื่อง แนวทางแก้ไขคือ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญร่วมกัน และตั้งงบประมาณรองรับให้เพียงพอในปีต่อไป

References

กนกวรรณ ธราวรรณ. (2548). ทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องเมื่อไม่พร้อม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง.

กุลภา วจนสาระ และเบญจมาศ รอดภัย. (2558). รายงานสรุปการประชุมเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ครั้งที่ 36. ณ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ศูนย์ราชการเฉลิมพระ เกียรติฯ จัดโดย เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, (เอกสารอัดสำเนา). วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558.

พรรัมภา ขวัญยืน. (2557). การบริหารการช่วยเหลือวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในจังหวัดเชียงใหม่. การประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 ประจำปี 2557 “Rethink : Social Development for Sustainability in ASEAN Community” 11-13 มิถุนายน 2557. เชียงใหม่ : วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

บุรเทพ โชคธนานุกุล และ กมลชนก ขำสุวรรณ.(2559). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ผลกระทบทางสังคมจากมุมมองเรื่องเพศของแม่ต่างรุ่น. วารสารประชากร, 4(2), 61-79

ประไพพิศ เขมะชิต, สุมล มานัสฤดี, ปราณี จิตรรัตนพงษ์, และ ดาวพันธ์ เฉลยพงษ์. (2552). การศึกษาเพศวิถีของวัยรุ่น ตั้งครรภ์ในวัยเรียน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2533). การประเมินผลการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นโยบายและแผนภารกิจที่ 9. คณะกรรมการด้านนโยบายและแผน. (คำสั่งจังหวัดลำปาง ที่ 2017 / 2558). รายงานการประชุมคณะทำงานโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดลำปาง (ครั้งที่ 1 2559 วันที่ 8 กันยายน 2559 ณ ห้องกาสะลองโรงแรมเวียงลคอร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง รายงานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดลำปาง ครั้งที่ 1/2560 เมื่อบ่ายวันที่ 25 เมษายน 2560 ณ ห้องประชุมเวียงละกอน ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดลำปาง

วรเดช จนทรศร. (2551). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. (2556). ระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จํากัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30