จริยธรรม : ปัญหาพฤติกรรมและการจัดการในปัจจุบันของสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • พระครูพิศาลจริยากร เลขธมฺโม (สังข์ขาว) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุชน ประวัติดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปัญหาจริยธรรม, ปัญหาสังคม, พฤติกรรม, บริหารจัดการ

บทคัดย่อ

จริยธรรมเป็นแนวทางการประพฤติปฏิบัติ ที่อาศัยหลักการด้านศีลธรรม เป็นเหตุเป็นผลให้คนในสังคมมีการแยกแยะสิ่งที่ถูกต้องควรทำและสิ่งที่ผิดไม่ควรทำ ไม่เบียดเบียนกัน เห็นแก่ประโยชน์ตนเองและผู้อื่น เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นปกติสุข สาเหตุของความเสื่อมทางจริยธรรมของสังคมไทยเป็นเพราะขาดการขัดเกลาทางสังคม สถาบันทางสังคม เช่น สถาบันครอบครัวไม่ส่งเสริมคุณค่าทางจริยธรรม ด้วยความรัก ความผูกพัน การไม่เคารพซึ่งกันและกันด้วยคุณธรรม เพราะการไม่เห็นคุณค่าทางจริยธรรม ขาดเหตุผลในการตีความ การวิเคราะห์แยกแยะพฤติกรรมดีชั่ว เพราะถูกครอบงำ หลงไหลในการเสพวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งจะต้องหามาได้ด้วยการใช้เงินซื้อมาตามระบบทุนนิยม  เป็นสถานการณ์ที่ท้าทายสังคมไทยให้หันมาตระหนักถึงการจัดการแก้ปัญหาทางจริยธรรมของสังคมที่จะกำหนดอนาคตของประเทศชาติว่าจะให้ดำเนินต่อไปในทิศทางใด

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2535). หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533. กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา.

กรมการศาสนา. (ม.ป.ป). รายงานการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง รูปแบบการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา, กระทรวงวัฒนธรรม.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2543). แนวทางพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม สำหรับเด็กวัย 3-6 ขวบ. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2556). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธิติมา จำปีรัตน์. (2533). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหิดล.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทย. โครงการตำรา สำนักที่ปรึกษากรมอนามัย : กระทรวงสาธารณสุข.

พระไพศาล วิสาโล. (2562). สร้างสังคมไทยให้เป็นมิตรกับความดี. สืบค้น 7 สิงหาคม 2562, จาก https://www.visalo.org/article/budTumKwamdee999.htm.

พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป และ สุวัฒสัน รักขันโท. (2560). หลักธรรมาภิบาล : หลักคิดและเปรียบเทียบกับหลักสัปปุริสธรรม. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 3(2), 131-142.

พุทธทาสภิกขุ. (2553). พุทธทาส แนะแนวจริยธรรมร่วมสมัย ชุดที่ 3 จุดหมายปลายทางและตัวแท้ของจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร : ดวงตะวัน.

เพ็ญแข ประจนปัจจนึก และคณะ. (2551). การยกระดับคุณธรรม จริยธรรมของ สังคมไทยเพื่อการปฏิรูปสังคม : แนวทางและการปฏิบัติ. (รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ).

วีระ บำรุงรักษ์. (ม.ป.ป). แนวทางการพัฒนาจริยธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : กรมวิจัยการศึกษากรมวิชาการ.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2542). จริยธรรมทางวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : เฟื้องฟ้า.

Kohlberg, Lawrence. (1976). Moral Development and Behavior. New York: Holt, Rinehart and Winston Co.

Kohlberg, L. (1976). Moral Stage and Moralization: The Cognitive Development Approach. New York: Holt Rinehart and Winston.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-07