ลักษณะคำสอนที่ทันสมัยในพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
ลักษณะคำสอน, ความทันสมัย, สิ่งแวดล้อม, สุขภาพอนามัยบทคัดย่อ
หลักคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นคำที่ทันสมัย ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตถูกใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก มีเว็บไซต์ต่างๆ มากมาย การเผยแพร่ธรรมะผ่านทางอินเทอร์เน็ตจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยการนำหลักธรรมคำสอนมาเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจได้เข้าไปเรียนรู้ธรรมะทางอินเตอร์เน็ตมากขึ้นและยังทำให้มีชาวต่างชาติได้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยอำนวยความสะดวก ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นชุมชนเมืองแห่งการเรียนรู้ของโลกที่ไร้พรมแดน ดังนั้นหลักคำสอนจึงสามารถอยู่ได้ในโลกยุคปัจจุบันโดยหลักคำสอนเป็นไปเพื่ออบรมปัญญาให้รู้เท่าทันสภาวธรรมตามความเป็นจริง แล้วดำรงชีวิตอยู่กับสัจจะธรรมความจริง ตามเท่าทันอารมณ์ การเกิด ขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ในปัจจุบันตามสภาพความเป็นจริง และผู้ปฏิบัติตามหลักคำสอนก็จะเห็นความจริงของชีวิตโดยไม่ทุกข์ร้อนกายใจมากนัก จนถึงไม่มีทุกข์ใดๆ เลย เป็นการปฏิบัติที่พิเศษแตกต่างไปจากลัทธิศาสนาอื่นและเป็นของที่มีแต่ในพระพุทธศาสนานี้เท่านั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และทรงสอนเหล่าสาวกในที่ต่างๆ ให้รู้ตามและเพื่อมุ่งหวังความสงบสุขของบุคคลและชุมชนและประโยชน์สุขแก่ชาวโลก โดยสมัยครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระองค์ได้ทรงโปรดให้พระสาวก 60 องค์ ได้จาริกไปด้วยพระพุทธวจนะ ดังนี้ “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่คนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก จงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด” (Thai Tipitaka/4/32/40) แม้กาลเวลาจะผ่านไป 2,500 ปีก็ตาม ลักษณะคำสอนก็ยังนำมาใช้ได้ในยุคปัจจุบันที่ค้นพบในพระไตรปิฎก เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องสุขภาพอนามัยและระบบประชาธิปไตย เป็นต้น ซึ่งพระพุทธเจ้า ทรงแนะนำสั่งสอนหลักธรรมคำสอนเอาไว้เป็นแนวทางแห่งการปฏิบัติสำหรับผู้ที่ศึกษาและปฏัติตามเพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและผู้อื่นสืบไป
References
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สโมสร. (2518). ชมรมอนุรักษ์สภาพแวดล้อม, สภาพแวดล้อมไทย. กรุงเทพมหานคร : บริษัทประชาช่าง.
ประยงค์ สุวรรณบุบผา. (2537). สังคมปรัชญา: แนวคิดตะวันนออก-ตะวันตก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธีระพล อรุณะกสิกรและคณะรวบรวม. (2542). พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2529). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2X. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
__________. (2529). ธรรมนูญชีวิต พุทธจริยเพื่อชีวิตที่ดีงาม. กรุงเทพฯ:อัมรินทร.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2557). การแพทย์แนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จำกัด.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต). (2538). ธรรมะกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จำกัด.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี ป.ธ.9). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ คําวัด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.
พระมหาบุญเลิศ ฐานทินฺโทและคณะ. (2550). อริยวินัย วิถีชีวิตที่นำสู่ความเป็นอริยะ. กรุงเทพมหานคร : หจก.สามลดา.
ภัทรพร สิริกาญจน. (2538). หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพุทธบัญญัติ. แนวคิดและบทบาทของพระคำเขียน สุวณโณ ในการพัฒนาชุมชน. (งานวิจัยเสนอต่อสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
เสถียร โกเศศ. (2521). ชีวิตชาวไทยสมัยก่อนและการศึกษาเรื่องประเพณีไทย. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา.
Ikeda, Daisaku. (1982). Life: An Enigma, A Previous Jewel. Charles S. Terry (trans). New York : Kodansha International.
Mahanarongchai, Sumalee. (2014). Health and Disease in Buddhist Minds. Nordhausen : Traugott Bautz.