การศึกษากระบวนการป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตายตามหลักพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระมหาอินทร์วงค์ อิสฺสรภาณี วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูไพศาลธรรมานุสิฐ วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • จันทรัสมิ์ ตาปูลิง วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การฆ่าตัวตาย, การป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตาย, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ข้อมูลหลักได้มาจากการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ  1) เพื่อศึกษาแนวคิดในการป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตาย 2) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดในการป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตายตามหลักพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตายตามหลักพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดในการป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตายตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการมีชีวิตอยู่และความคุ้มค่าทางด้านทรัพยากรบุคคล จำแนกออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ การประเมินกลุ่มเสี่ยง การช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยง และการฟื้นฟูผู้พยายามฆ่าตัวตาย แนวทางการป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตายตามหลักพระพุทธศาสนา สามารถกำหนดกรอบและทิศทางโดยใช้หลักอริยสัจ 4 และประยุกต์ใช้หลักปธาน 4 เป็นแนวทางการดำเนินงาน คือ 1) สังวรปธาน การเฝ้าระวัง โดยอาศัยกัลยาณมิตร 2) ปหานปธาน การยับยั้ง-ลด-ละ 3) ภาวนาปธาน การสร้างภาวะคุ้มกัน ด้วยการเห็น 3 อย่าง และการรู้ 3 อย่าง และ 4) อนุรักขนาปธาน การรักษาภาวะคุ้มกันให้เป็นแนวทางมั่นคงด้วยสติและสัมปชัญญะ

References

ชวนีย์ พงศาพิชญ์. (2542). การฆ่าตัวตาย: ปัญหาในยุคสังคมวิกฤต. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 11(29), 24-29.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร:สหธรรมมิกจำกัด.

พระศรีปริยัติโมลี (สมชัย กุสลจิตฺโต). (2540). ทบทวนตรงนี้สักนิดก่อนคิดฆ่าตัวตาย. วารสารพุทธจักร. 51(12), 25.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2554). คุณภาพชีวิตของคนไทย: นัยจากสถิติการฆ่าตัวตาย. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 2(2), 50-65.

อนุพงศ์ คำมา. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายสำเร็จ: กรณีศึกษาจังหวัดสุโขทัย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 58(1), 3-16.

Durkhem E. (1966). Suicide. New York: Memmillan Publising.

Boyd, A. M. (2005). Psychiatric nursing: contemporary practice. (3rd Ed.). Philadelphia: Lippincott Williams and Wilkins.

H. Bogd & M.A. Nihart (Eds.). Psychiatric nursing contemporary practice. Philadelphia: Lippincott-Raven.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-07