การเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่ออาชีพในท้องถิ่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดโขดหินมิตรภาพที่ 42 โดยใช้วิธีสอนแบบกระบวนการสร้างเจตคติ
คำสำคัญ:
วิธีสอน, กระบวนการสอน, ท้องถิ่นไทย, เจตคติบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบเจตคติต่ออาชีพในท้องถิ่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างใช้วิธีการสอนแบบกระบวนการสร้างเจตคติกับวิธีสอนแบบปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดโขดหินมิตรภาพที่ 42 จังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 60 คน ใช้วิธีการคัดเลือกนักเรียนมาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองโดยใช้วิธีการสอนแบบกระบวนการสร้างเจตคติ และกลุ่มควบคุมด้วยวิธีสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบกระบวนการสร้างเจตคติ แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่ออาชีพในท้องถิ่น แบบประเมินระดับเจตคติของนักเรียนที่มีต่ออาชีพในท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความสามารถทางการเรียน หาความแตกต่างระหว่างคะแนนหลังเรียน โดยใช้ค่า t-test (Independent Samples) และวิเคราะห์ระดับเจตคติโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับสอนแบบกระบวนการสร้างเจตคติมีระดับเจตคติต่ออาชีพในท้องถิ่น สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับสอนแบบกระบวนการสร้างเจตคติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
References
กาญจนา บุญส่ง. (2542). หลักการสอน. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ชาติชาย ม่วงปฐม. (2558). ทฤษฎีการสอน. อุดร : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดร.
นพมาศ อุ้งพระ. (2544). จิตวิทยาสังคมกับชีวิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Design. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิภาพร มาพบสุข. (2543). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สรรสุดา เจียมจิตและคณะ. (2551). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองวิชาอุปกรณ์ประกอบอาคาร 1 และวิชาโครงสร้างสถาปัตยกรรมภายใน 4 สำหรับนักศึกษาสถาปัตยกรรมภายในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อสร้างสำนึกความเป็นไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
McMillan, J. H., & Schumacher, S. (2001). Research in education: A conceptual introduction. England: Longman.