การวิจัยและพัฒนาศูนย์พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุที่ตั้งในพุทธสถาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถผู้สูงอายุในการดูแลตนเอง
คำสำคัญ:
การวิจัยและพัฒนา, ศูนย์พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ, พุทธสถานบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความพร้อมและส่วนขาดด้านกายภาพและการจัดการของพุทธสถาน รวมถึงกำหนดสภาพที่เป็นความจำเป็นพื้นฐานของศูนย์พัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ ทั้งในด้านกายภาพ และการจัดการ และเสนอแนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุที่ตั้งในพุทธสถานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถผู้สูงอายุในการดูแลตนเอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดย การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากกลุ่มเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส หรือ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส รวม 396 รูป ในพื้นที่ 8 จังหวัด ซึ่งเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ได้แก่ จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดนครศรีธรรมราช และ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติของพระสงฆ์ต่อบทบาทของวัดในการรองรับสังคมผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า วัดส่วนใหญ่มีความพร้อมร้อยละ 65.2 และยังมีส่วนขาดร้อยละ 34.8 และปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมของวัดในการรองรับสังคมผู้สูงอายุ ได้แก่ 1. ด้านศักยภาพเจ้าอาวาส 2. ด้านจำนวนคุณสมบัติของพระในวัด 3. ด้านความรู้ของพระในวัด 4. ด้านชุมชนรอบวัด และ 5. ด้านความสัมพันธ์ของหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรภาคเอกชน สำหรับแนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุที่ตั้งในพุทธสถานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถผู้สูงอายุในการดูแลตนเอง พบว่าศูนย์พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุที่ตั้งในพุทธสถานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถผู้สูงอายุในการดูแลตนเอง จะต้องประกอบด้วย (1) ปัจจัยด้านสถานที่ (2) ปัจจัยด้านการเงิน (3) ปัจจัยด้านการบริหาร (4) ปัจจัยด้านกิจกรรม (5) ปัจจัยด้านสถาปัตยกรรม (6) ปัจจัยด้านแผนพัฒนา และ (7) ปัจจัยด้านนโยบาย
References
ธฤษณุ ฉัตรกมลวรกิจ. (2556). การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทางกายภาพสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลหนองตองพัฒนาในเขตพื้นที่หมู่บ้านป่าเป้า ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ประสิทธิ์ สระทอง. (2560). บทบาทของวัดที่มีต่อสังคมในการก้าวเดินในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal. Silpakorn University. 10(1), 936-951.
พระมหาโยธิน โยธิโก. (2560). บทบาทพระสงฆ์ไทยในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 17(3), 25-36.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2554). คู่มือการพัฒนาวัดสู่ความเป็นมาตรฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
เสาวภา พรสิริพงษ์ ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ และยงยุทธ บุราสิทธิ์. (2557). วัดในพุทธศาสนากับความพร้อมในการรองรับสังคมผู้สูงอายุ. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 33(1), 99-125.