ผลการใช้โปรแกรมการลดน้ำหนักสำหรับนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
คำสำคัญ:
การลดน้ำหนัก, โปรแกรมลดน้ำหนัก, ภาวะน้ำหนักเกินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโปรแกรมการลดน้ำหนักสำหรับนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน และเพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการลดน้ำหนักสำหรับนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ตลอดจนสุขภาพจิตของนักศึกษาหลังใช้โปรแกรมการลดน้ำหนัก การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมการลดน้ำหนักสำหรับนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน และแบบบันทึกข้อมูลการลดน้ำหนัก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที (t-test for dependent samples) ผลการวิจัยพบว่า
- โปรแกรมการลดน้ำหนักสำหรับนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกินมีค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหาเท่ากับ 0.67 แสดงว่าโปรแกรมการลดน้ำหนักสำหรับนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกินมีคุณภาพผ่านเกณฑ์
- ก่อนการทดลองกลุ่มเป้าหมายมีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 72.30 กิโลกรัม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 12.19 และหลังการทดลองมีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 69.73 กิโลกรัม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 11.79 แสดงว่าโปรแกรมการลดน้ำหนักสำหรับนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกินทำให้กลุ่มเป้าหมายมีน้ำหนักลดลง เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง (t-test) มีค่าเท่ากับ 7.022 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ก่อนการทดลองกลุ่มเป้าหมายมีดัชนีมวลกายเฉลี่ยเท่ากับ 28.14 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.86 และหลังการทดลองมีดัชนีมวลกายเฉลี่ยเท่ากับ 27.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.69 แสดงว่าโปรแกรมการลดน้ำหนักสำหรับนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกินทำให้กลุ่มเป้าหมายมีดัชนีมวลกายลดลง เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง (t-test) มีค่าเท่ากับ 7.163 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
คมสันต์ นารากันสุชาติ. (2560). โรคอ้วนส่งผลเสียต่อสมองการรับรู้แย่ลง. สืบค้น 4 มีนาคม 2560, จาก http://news.voicetv.co.th/world/48152.html
นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร และ เดช เกตุฉ่า. (2560). การพัฒนาเครื่องมือวัดความฉลาดทางสุขภาพเกี่ยวกับโรคอ้วนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ระยะที่ 1) .สืบค้น 4 มีนาคม 2560, จาก http://www.hed.go.th_mod/%E%/งานวิจัย
ยุพา หนูฟอง. (2559). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองด้านอาหารและการออกกำลังกายต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายและน้ำหนักของ นักศึกษาที่มีภาวะอ้วน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 36(2), 78-92.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2562). โครงการผลการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการลดน้ำหนักของเด็กมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สืบค้น 30 สิงหาคม 2562, จาก https://www.hsri.or.th/researcher/media/news/detail/6794
แสงเทียน ธรรมลิขิตกุล. (2559). ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไข การลดน้ำหนักของนักศึกษาพยาบาลที่มีภาวะอ้วน คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารเกื้อการุณย์. 23(2), 30.
สมศักดิ์ ถิ่นขจี และพูลศักดิ์ พุ่มวิเศษ. (2559). พฤติกรรมการลดความอ้วนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(1), 73.