ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะเพื่อนที่ปรึกษา ของนักศึกษาปริญญาตรีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
คำสำคัญ:
โปรแกรมพัฒนา, สมรรถนะ, เพื่อนที่ปรึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะเพื่อนที่ปรึกษาของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนสมรรถนะเพื่อนที่ปรึกษาของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ก่อนและหลังการทดลอง ประชากร คือนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ชั้นปีที่ 2 จำนวน 190 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะเพื่อนที่ปรึกษา แบบประเมินสมรรถนะการให้คำปรึกษาสำหรับประเมินตนเอง สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Means) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และสถิติทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยดังนี้
- ผลการสร้างโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะเพื่อนที่ปรึกษาดำเนินการฝึกอบรม รวม 12 ชั่วโมง ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมที่ 1 เรื่อง การสร้างสัมพันธภาพและข้อตกลงในการอบรม ชุดกิจกรรมที่ 2 เรื่อง เข้าใจวัยรุ่นและการสื่อสาร และชุดกิจกรรมที่ 3 เรื่องการให้คำปรึกษา และผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.50 – 1.00 ซึ่งสามารถนำไปใช้กับการฝึกสมรรถนะเพื่อนที่ปรึกษาได้
- ผลเปรียบเทียบคะแนนสมรรถนะเพื่อนที่ปรึกษาของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ที่ผ่านการเข้าอบรมโดยใช้โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะเพื่อนที่ปรึกษา หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กรกฎา นักคิ้ม. (2559). สมรรถนะครูที่ปรึกษาของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (YC) เขตภาคกลาง. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(2), 88-102.
กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2553). สมรรถนะวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผลิตตำราเรียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ขจรศักดิ์ ศิริมัย. (2554). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมรรถนะ. สืบค้น 5 มิถุนายน 2560, จาก http://competency.rmutp.ac.th.
จันทิมา ทอดสนิท. (2554). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความสามารถในการให้คำปรึกษาของเพื่อนที่ปรึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์, 5(1), 22-26.
จีน แบรี่. (2549). การให้คำปรึกษา. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์.
เทื้อน ทองแก้ว. (2550). สมรรถนะ (Competency) : หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
นิด้าโพล. (2560). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต. สืบค้น 3 กรกฎาคม 2560, จาก http://nidapoll.nida.ac.th
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย. (2555). รู้เท่าทันสื่อ ICT. สมุทรปราการ: บริษัทเอเชียแปซิฟิคออฟเซ็ท.
วัชรี ทรัพย์มี. (2554). ทฤษฎีให้บริการปรึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริบูรณ์ สายโกสุม. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพ : ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สวนดุสิโพล. (2560). การใช้ความรุนแรงของวัยรุ่นไทย ณ วันนี้. สืบค้น 1 มิถุนายน 2560, จาก http://suandusitpoll.dusit.ac.th
สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. (2558). เด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. (2550). อีคิว : ความฉลาดทางอารมณ์ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). หลักสูตรฝึกอบรมนักเรียน เพื่อนที่ปรึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อาดัม นีละไพจิตร. (2555). การศึกษาคุณลักษณะผู้ให้คำปรึกษาชุมชนของนักศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 162-173.
Helen Cowie and Sonia Sharp. (1996). Peer Counselling in Schools. Camgridge : Cromwell Press Ltd, Melksharm.
Lucky Odirile. (2012). The Role of Peer Counseling in a University Setting: TheUniversity of Botswana. Retrieved 5 April 2018, from https://www.ncsu.edu
Mullen, P.R., Uwamahoro, O., Blount, A.W., & Lambie, G.W. (2015). Development of counseling students' self-efficacy during their preparation program. The Professional Counselor, 5(1), 175-184.