ทุนจิตวิทยาเชิงบวก : แนวคิด การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ทุตจิตวิทยาเชิงบวก, คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ข้าราชการ, กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
จิตวิทยาเชิงบวกเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์นำมาใช้ในการแสวงหาองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาและฝึกฝนอัจฉริยภาพ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง และเสนอทุนจิตวิทยาเชิงบวกการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการกรุงเทพมหานครในลักษณะ 1) การรับรู้ศักยภาพของตนเอง มีความมั่นใจในความสามารถของตนเอง ในความพยายามทำงานที่ท้าทายความสามารถของตนให้ประสบผลสำเร็จ 2) การมองโลกในแง่ดี เป็นการคิดถึงความสำเร็จที่เกิดขึ้นในตอนนี้และวันข้างหน้า 3) ความคาดหวัง ความมุ่งหวังที่จะไปให้ถึงเป้าหมายและหากจำเป็นก็สามารถปรับเปลี่ยนแนวทางไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จได้ 4)ความยืดหยุ่นทางอารมณ์ เมื่อพบปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ สามารถที่จะควบคุมและปรับอารมณ์คืนสู่สภาพปกติได้อย่างรวดเร็ว
References
นารีรัตน์ เอี่ยมตั้งพาณิชย์. (2555). ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความผูกพันต่อองค์การ และความตั้งใจที่จะลาออกของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง.(งานวิจัยส่วนบุคคลปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ศรุต กาญจนหิรัญ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง คุณภาพชีวิตในการทางานกับความผูกพันต่อองค์การ: กรณีศึกษาพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย. (งานวิจัยส่วนบุคคลปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
Cummings, T. G., & Worley, C. G. (1997). Organization development and change (6th ed.). U.S.A.: West Publishing Company.
Huse, E. F. (1980). Organization Development and Change. U.S.A: West Publishing.
Luthans, F., & Youssef, C. M. (2004). Human, social and now positive psychological capital management: Investing in people for competitive advantage. Organizational Dynamics.
Luthans, F., Vogelgesang, G.R., & Lester, P.B. (2006). Developing the psychological capital of resiliency. Human Resource Development Review.
Seligman, M. E. P., & Csikszentmihalyi, M. (2000). Positive psychology: An introduction. American Psychologist.