ภาวะพุทธิปัญญาการรู้คิดต่อความจำของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • พันทิวา กฤษฎาชาตรี 0646424656

บทคัดย่อ

สังคมไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา และมีการคาดการณ์ว่าไม่เกิน 20 ปีข้างหน้า ผู้สูงอายุจะเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศ มีปรากฏการณ์ที่ชัดเจนมากขึ้นว่าสังคมและหน่วยงาน ตลอดจนนโยบายรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมการสำหรับสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบมากขึ้น โดยเฉพาะระบุบริการต่าง ๆ ในชุมชนซึ่งต้องดูแลผู้สูงอายุทั้งในด้านการแพทย์ สังคมและการดำรงชีวิต ได้มีผู้ศึกษาและอธิบายถึงสภาพของการเปลี่ยนแปลงวัยผู้สูงอายุที่มีผลจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม และได้เสนอภาพปัญหาของผู้สูงอายุที่มีผลจากการเปลี่ยนแปลง 3 ประการใหญ่ ได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ได้แก่ กระบวนการการชราภาพของอวัยวะต่าง ๆ ทุกระบบในร่างกาย 2) การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และ 3) การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และจิตใจ อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่สามารถหยุดยั้งความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ แต่ในทางการแพทย์พบว่าการส่งเสริมสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ
จะช่วยชะลอกระบวนการชราภาพหรือป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นทางด้านจิตใจได้ ดังนั้น การดูแลสุขภาพให้กับผู้สูงอายุจึงควรเตรียมความพร้อมให้กับผู้สูงอายุในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ในทางเสื่อมลง การดูแลจึงเป็นการดูแลทางด้านสุขภาพทั่วไป การจัดสภาพแวดล้อมให้มั่นคงปลอดภัย การให้ผู้สูงอายุได้รู้จักตนเองและสิ่งรอบตัวตามความเป็นจริง การแก้ไขปัญหาความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม การดูแลให้ผู้สูงอายุพักผ่อน ออกกำลังกาย มีนันทนาการ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-27