ศึกษาวิเคราะห์ประเพณีออกหว่าของชาวพุทธในตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ:
ประเพณีออกหว่า,ชาวพุทธในตำบลแม่สะเรียงบทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและความสำคัญของประเพณีออกหว่า ๒) เพื่อศึกษารูปแบบและกิจกรรมของชาวพุทธไทยใหญ่ในประเพณีออกหว่า ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ประเพณีออกหว่าของชาวพุทธในอำเภอแม่สะเรียง โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้วิธีการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถาม ผลวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมของประเพณีออกหว่า เป็นประเพณีที่มีองค์ประกอบ ๓ มิติ คือ ๑) มิติของการตักบาตร เป็นการตักบาตรเวลาตี ๔ ของช่วงฤดูกาลออกพรรษาจำนวน ๓ วัน คือวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ และวันแรม ๑ ค่ำ เดือน๑๑ ๒) มิติของการตกแต่งประดับประดา บนพื้นฐานของความเชื่อของพุทธศาสนิกชนในการตกแต่งประดับประดาหน้าบ้านเพื่อต้อนรับการกลับมาของพระพุทธเจ้าหลังจากเสด็จไปโปรดพุทธมารดาและ ๓) มิติของประเพณีแห่เทียนเหง เป็นการแห่เพื่อถวายเทียนพัน (๑๐๐๐) เล่ม เป็นพุทธบูชา
References
(๑) หนังสือ
สุทัศน์ กันทะมา. การคงอยู่ของวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวไทยใหญ่. (เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
๒๕๔๒).
บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. คนไทยในพม่า. (พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์รามินท์, ๒๕๕๖).