จิตวิทยาการบริหารเวลาเพื่อการพัฒนาตนเอง

ผู้แต่ง

  • นายสุทธิชัย ศรีรัตนวงศ์
  • พระใบฎีกากิตติพงษ์ สีลสุทฺโธ

คำสำคัญ:

การพัฒนาตนเอง, การบริหารเวลา, ผัดวันประกันพรุ่ง

บทคัดย่อ

การบริหารจัดการเวลา และใช้ประโยชน์จากเวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นสิ่งสำคัญ และยังถือเป็นการพัฒนาตนเองอย่างหนึ่ง เราสามารถนำหลักจิตวิทยามาช่วยในการบริหารเวลาได้ โดยในบทความนี้จะกล่าวถึง การนำแนวคิดทฤษฎีต่างๆ ทางจิตวิทยามาใช้ในโปรแกรมการพัฒนาตนเอง ทางด้านการบริหารเวลา รวมทั้งการอธิบายถึง ขั้นตอนการสร้างโปรแกรมการพัฒนา ซึ่งมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย
1) ตั้งเป้าหมายของพฤติกรรมที่ต้องการปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดีขึ้นและมีการกำหนดขอบเขตเวลาให้ชัดเจน
2) รวบรวมข้อมูลสภาพปัจจุบันของพฤติกรรมที่ต้องการพัฒนาแก้ไขตลอดจนปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง 3) วิเคราะห์ แยกแยะ ลักษณะของพฤติกรรมและสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่ง 4) พิจารณาวางแผนการดำเนินการเพื่อพัฒนาตน 5) ปฏิบัติตามแผนดำเนินการและบันทึกผลที่เกิดขึ้น 6) วิเคราะห์ผลการดำเนินการและประเมินประสิทธิภาพของแผน และ 7) รักษาสภาพพฤติกรรมใหม่ให้คงอยู่ และยุติโครงการพัฒนาตน
ซึ่งพบว่าการพัฒนาตนเองจากการบริหารจัดการเวลานี้มักเป็นการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองในสภาพการณ์ที่เฉพาะเจาะจง แต่พฤติกรรมใหม่นั้นจะคงอยู่ต่อไปได้เมื่อเราสามารถถ่ายโยงไปสู่สภาพการณ์อื่นได้นั่นเอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-05