รูปแบบและกระบวนการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • ดร.อัครนันท์ อริยศรีพงษ์
  • ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โกวิท พานแก้ว
  • ดร.พุทธชาติ แผนสมบุญ
  • ดร.สุวัฒสัน รักขันโท
  • อาจารย์ญาณีนี ภู่พัฒน์

คำสำคัญ:

กระบวนการพัฒนา, การสื่อสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้จุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาระดับทักษะในการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 3) เพื่อเสนอแนวทางสร้างรูปแบบและกระบวนการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เป็นนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 135 รูป/คน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ(percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(standard deviation) สำหรับอธิบายข้อมูลพื้นฐาน และ ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่
One-way ANOVA และทดสอบค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของตัวแปร โดยใช้สถิติ Person Correlation

             ผลการวิจัยพบว่า

             1) ปัญหาและอุปสรรคการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทั้งด้านการฟัง ด้านการพูด ด้านการอ่านและด้านการเขียนของนิสิต พบว่า นิสิตเรียนภาษาอังกฤษไม่ดี เพราะพื้นความรู้อ่อน มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาไม่รู้ศัพท์ภาษาอังกฤษ เมื่อนิสิตต้องทำกิจกรรม:ห้องที่ต้องใช้ทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษ พบว่า ใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษผิด มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ไม่มีเนื้อหาที่จะเขียน และไม่รู้จักประโยคหรือสำนวนภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่างๆตามลำดับ และปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารด้านการฟังและด้านการพูดภาษาอังกฤษของนิสิตมาจากสาเหตุ ขาดความมั่นใจ และไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ตรงตามความตั้งใจ รองลงมา ไม่รู้ศัพท์ และไม่รู้หลักไวยากรณ์

             2) ระดับคะแนนเฉลี่ยทักษะในการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษของนิสิตในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.96 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .659 มีความคิดเห็นในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการฟังมีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการอ่าน ทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการพูด และทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการเขียน ทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง

             3) แนวทางการสร้างรูปแบบและกระบวนการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษจากการ          พัฒนาทักษะ ทั้งด้านการพูด ด้านการฟัง ด้านการอ่าน ด้านการเขียนไปพร้อมๆ กัน โดยพบว่า รูปแบบการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพการสอนของอาจารย์ ด้านสื่อการสอน ด้านเนื้อหาการเรียนการสอน และด้านตัวผู้เรียน โดยแนวทางการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทั้งทุกด้าน มีแนวทางและข้อเสนอแนะโดยรวม ได้แก่ 1) ด้านคุณภาพการสอนของอาจารย์ ได้แก่ ผู้สอนต้องมีความรู้ความสามารถในการถ่ายถอด เตรียมการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
2) ด้านสื่อการสอน ได้แก่ ควรพัฒนาสื่อการสอนให้น่าสนใจ 3) ด้านเนื้อหาการเรียนการสอน ได้แก่ ควรพัฒนาเนื้อหาครบถ้วนให้เหมาะสมกับผู้เรียน ปรับปรุงให้ทันสมัย และ 4) ด้านตัวผู้เรียน ได้แก่ ควรฝึกฝนและทบทวนบทเรียนและมีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพิ่มขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-03