แรงจูงใจของพุทธศาสนิกชนในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา วัดประดับ จังหวัดสิงห์บุรี
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, พุทธศาสนิกชน, วิปัสสนาบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์เรื่อง “แรงจูงใจของพุทธศาสนิกชนในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาวัดประดับ จังหวัดสิงห์บุรี” มีจุดประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจของพุทธศาสนิกชนในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาวัดประดับ จังหวัดสิงห์บุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อแรงจูงใจของพุทธศาสนิกชนในการเข้าปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาวัดประดับ จังหวัดสิงห์บุรี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับแรงจูงใจของพุทธศาสนิกชนในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาวัดประดับ จังหวัดสิงห์บุรี วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อวัดผลระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พุทธศาสนิกชนที่เข้าปฏิบัติธรรมวัดประดับ จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 95 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 51-60 ปี มีอาชีพอื่นๆ มีสถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน มีประสบการณ์ปฏิบัติธรรมระหว่าง 5–10 ครั้ง แรงจูงใจโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า บุคคลเป็นที่สบาย อาหารเป็นที่สบาย อิริยาบถเป็นที่ ที่พักอาศัยสบาย และความต้องการทางสังคมและความรักอยู่ในระดับมาก ส่วนความต้องการสร้างความประจักษ์ตน ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย และความต้องการได้รับเกียรติและภาคภูมิใจอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคล คือ อายุ สถานภาพ และรายได้ต่อเดือน
ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจของพุทธศาสนิกชนในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาวัดประดับแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยส่วนบุคคล มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจของพุทธศาสนิกชนในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาวัดประดับ โดยภาพรวม มีค่าเป็นลบ อยู่ในระดับต่ำที่สุด