ผลของการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธธรรม ต่อการลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

ผู้แต่ง

  • นางวาตนิตา เสมประวัติ
  • นางสาระ มุขดี

คำสำคัญ:

การให้การปรึกษา, ความวิตกกังวล, มะเร็งระยะสุดท้าย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งการทดลอง มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเพื่อเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังให้การให้การปรึกษา(2) เพื่อเพื่อเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมภายหลังการให้การปรึกษา กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย ได้แก่ ผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ 3–4 จำนวน 24 คน โดยการใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 12 คน เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะความกังวล แสดงด้านอารมณ์ ด้านร่างกาย ด้านพฤติกรรม การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีภาวะความวิตกกังวลด้านอารมณ์ลดลงกว่าก่อนการทดลองในระยะติดตามผล 1 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ภาวะด้านร่างกาย และด้านพฤติกรรมมีค่าต่ำกว่าก่อนการทดลองในระยะติดตามผล 1 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้กลุ่มทดลองยังมีค่าระดับภาวะความวิตกกังวลด้านอารมณ์ ด้านร่างกาย ด้านพฤติกรรม ลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากข้อเสนอแนะการวิจัยข้างต้น  ควรนำแนวทางการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เพื่อลดระดับความวิตกกังวลในผู้ป่วย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-03