การบริหารจัดการการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรมสรรพากร

ผู้แต่ง

  • สิริกร ศิริปรีชา ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สัมพันธ์ พลภักดิ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรมสรรพากร (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรมสรรพากร และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรมสรรพากรประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ ได้นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล ด้านการมีภูมิคุ้มกัน ด้านการมีความรู้ และด้านการมีคุณธรรม มาปรับใช้เป็นกรอบแนวคิดการวิจัยของการศึกษาครั้งนี้

          ระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษาครั้งนี้ ได้ออกแบบรูปแบบการวิจัยให้เป็นวิธีการวิจัยแบบผสมโดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริม การวิจัยเชิงปริมาณเป็น

การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลจากประชากรเป็นจำนวนมาก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามได้ผ่านการทดสอบเพื่อหาค่าความเที่ยงตรง ได้ค่าเท่ากับ 0.85 

และผ่านการหาค่าความเชื่อถือได้ที่ระดับ 0.89 ประชากร คือ ประชาชนผู้ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามแบบในจังหวัดนนทบุรี รวม 93,682 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนดังกล่าว จำนวน 1,099 คน ซึ่งได้มาจากสูตรการหาจำนวนกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน่ การเก็บรวบรวมข้อมูลสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน 2561 เก็บรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาได้จำนวน

1,099 ชุด/คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,099 คน วิธีวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ในรูปตาราง รวมทั้งใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และเป็นการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว คนละไม่น้อยกว่า 60 นาที ด้วยแบบสัมภาษณ์แนวลึกที่มีโครงสร้าง

          ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ กรมสรรพากรจัดเจ้าหน้าที่สำหรับให้คำแนะนำประชาชนในเรื่องการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ไม่มากเท่าที่ควร (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ กรมสรรพกรควรจัดเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำประชาชนในเรื่องการเสียภาษีเงินได้เพิ่มมากขึ้น และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรมสรรพากรประสบความสำเร็จ คือ การที่ผู้บริหารของกรมสรรพากรมีภาวะผู้นำสูง มีวิสัยทัศน์ที่ดี รวมทั้งมีนโยบายที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนความพร้อมด้านเจ้าหน้าและด้านการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดเก็บภาษีเงินได้

 

References

เบญจมาศ อินทราเวช และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2559). “การบริหารจัดการด้านการอำนวยความสะดวก และให้บริการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2559), หน้า 173-182.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2550). การบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรมและแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2561). “การบริหารจัดการเพื่อนำเทคโนโลยีและเครือข่ายสังคมที่ทันสมัยมาใช้ในการให้บริการประชาชนของกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการบริหารจัดการยุคดิจัล”, วารสารอัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ปีที่ 7 ฉบับที่ 25 ปีที่ 13 (ฉ.ที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2561).
Cowles, Ernest L. and Nelson, Edward. (201). An Introduction to Survey Research. New York: Business Expert Press, LLC.
Creswell, John W. and Clark, Vicki L. Plano. (2011). Designing and Conducting Mixed Methods Research. Second Edition. Thousand Oaks, California: Sage Publications, Inc.
Elliott, Robert. and Timulak, Ladislav. (2005). “Descriptive and Interpretive Approaches to Qualitative Research” in Miles, Jeremy. and Gilbert, Paul. (eds.). (2005). A Handbook of Research Methods for Clinical and Health Psychology. New York: Oxford University Press.
Everitt, Brian S. (1992). The Analysis of Contingency Tables. Second Edition. Boca Raton, Florida: Chapman and Hall/CRC.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-27