การบริหารจัดการด้านการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษา (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการให้บริการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และ (3) ยุทธศาสตร์ของแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ ได้นำแนวคิดการบริหารจัดการแพ๊นท์-ไอเทิร์มส์ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นมืออาชีพ เครือข่าย การทำงานเป็นทีม เทคโนโลยี และคุณธรรม มาปรับใช้เป็นกรอบแนวคิดการวิจัยที่สำคัญของการศึกษาครั้งนี้
ระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษาครั้งนี้ ได้ออกแบบรูปแบบการวิจัยให้เป็นวิธีการวิจัยแบบผสมโดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริม การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลสนามจากกลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวนมาก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามได้ผ่านการทดสอบเพื่อหาค่าความเที่ยงตรง ได้ค่าเท่ากับ 0.93 และผ่านการหาค่าความเชื่อถือได้ ที่ระดับ 0.81
ประชากร คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน 4 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีพื้นที่ใกล้กับที่ตั้งของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ส่วนกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 1,108 คน ซึ่งได้มาจากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่
ซึ่งได้มาจากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ การเก็บรวบรวมข้อมูลสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 1-31 มกราคม 2561 เก็บรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาได้จำนวน 1,009 ชุด/คน คิดเป็นร้อยละ 91.06 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,108 คน สำหรับวิธีวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ในรูปตาราง รวมทั้งใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างตามแนวคิดสโนว์บอลล์ และเป็นการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว คนละไม่น้อยกว่า 60 นาที ด้วยแบบสัมภาษณ์แนวลึกที่มีโครงสร้าง
ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญคือ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรบริหารจัดการด้านการสื่อสารโดยใช้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการสูงไม่มากเท่าที่ควร (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่สำคัญคือ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และผู้บริหารทุกระดับควรสนับสนุนการบริหารจัดการด้านการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการสูง รวมทั้งมีเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ในการสนับสนุนการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีและเครือข่ายสังคมที่ทันสมัยเพื่อให้บริการประชาชนอย่างจริงจังด้วย และ (3) สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรควรสร้างและนำยุทธศาสตร์ของแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตามแนวคิดการบริหารจัดการแพ๊นท์-ไอเทิร์มส์ ไปปรับใช้สำหรับการวางแผน และใช้เป็นกลุ่มตัวชี้วัดที่สำคัญของการปฏิบัติงาน รวมทั้งนำไปใช้ในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และนำยุทธศาสตร์ไปพัฒนาต่อยอดต่อไปในอนาคตอีกด้วย โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวควรประกอบด้วย 5 ด้าน เรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความเป็นมืออาชีพ เทคโนโลยี เครือข่าย คุณธรรม และการทำงานเป็นทีม
References
กรุงเทพมหานครตามแนวคิดแพ๊นท์-ไอเทิร์มส์" วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์น
เอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2562).
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. "ศักยภาพในการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีและเครือข่ายสังคมที่ทันสมัย
เพื่อให้บริการประชาชนของเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิด PANT-ITERMS"
วารสารมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน
2560), หน้า 108-121.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2559). 50 แนวคิด ตัวชี้วัด ตัวแบบของการบริหารจัดการ และการบริหารจัดการทียั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). แผนยุทธศาสตร์สำนักงานเลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561-2564. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนพัฒนา สำนักนโยบายและแผน, สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
Biernacki, Patrick. and Waldorf, Dan (1981). “Snowball Sampling: Problems and Techniques of
Chain Referral Sampling”, Sociological Methods & Research 10, 2 (1981): 141-163.
Brocki, J. J. M. and Wearden, A. J. (2006). “A Critical Evaluation of the Use of Interpretative
Phenomenological Analysis (IPA) in Health Psychology”, Psychology and Health 21 (1),
2006: 87-108.
Cowles, Ernest L. and Nelson, Edward. (2015). An Introduction to Survey Research. New York:
Business Expert Press, LLC.
Creswell, John W. and Clark, Vicki L. Plano. (2011). Designing and Conducting Mixed Methods
Research. Second Edition. Thousand Oaks, California: Sage Publications, Inc.
Yamane, Taro. (2012). Mathematics for Economists: An Elementary Survey. Whitefish, Montana:
Literary Licensing, LLC.