ศึกษาวิเคราะห์สาเหตุการเสด็จออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาเรื่องการบวชในยุคพุทธกาล จากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาทัศนะว่าด้วย สาเหตุการเสด็จออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะจากการตีความของนักวิชาการ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สาเหตุการเสด็จออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการค้นคว้าวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา 10 รูป / คน ผลการวิจัย พบว่า นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาแสดงทัศนะเรื่องเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช แตกต่างกัน 2 สาเหตุหลัก คือ 1) ต้องการแสวงหาหนทางพ้นทุกข์และ 2) เกิดจากแรงผลักดันทางการเมืองของสภาศากยวงศ์ จากการวิเคราะห์พระไตรปิฎก อรรถกถา ทัศนะของปราชญ์ในทางพระพุทธศาสนา ความเป็นมนุษย์ในการแสวงหาทางพ้นทุกข์ และค่านิยมการบวช พบว่าสาเหตุหลักของการเสด็จออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะที่น่าจะเป็นไปได้คือ การบำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าในอดีตชาติ ต้องการแสวงหาหนทางพ้นทุกข์หลังจากเห็นเทวทูตทั้ง 4 การมองเห็นความไม่จีรังยั่งยืนในกามสุข และค่านิยมการบวชเพื่อแสวงหาโมกษะของชาวชมพูทวีปในยุคพุทธกาล
References
_________. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสฺยามรฏฐ เตปิฏกํ 2525. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2525.
จำนงค์ ทองประเสริฐ. แผนการกู้อิสรภาพของเจ้าชายสิทธัตถะ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด, 2547.
พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร). ศาสตร์ว่าด้วยการเป็นพระพุทธเจ้า (มุนีนาถ ทีปนี). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สารมวลชน, 2506.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. พุทธประวัติเล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 55. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามงกุฏราชวิทยาลัย, 2554.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก, “เจ้าชายสิทธัตถะ มิได้หนีออกบวชกลางคืนกับนายฉันนะ หากออกบวช กลางวัน ต่อหน้าพระราชบิดาและพระราชมารดา”, มติชน [ออนไลน์], ในฐานข้อมูลสื่อ อีเล็กทรอนิกส์https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1317203606 [1 มกราคม 2560].
สัมภาษณ์ พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย, ดร., ผู้อำนวยการศูนย์พุทธศาสตร์ศึกษา DCI, 5 มกราคม 2561.