ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาศาสตร์ สำหรับนิสิตระดับปริญญาโท คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • พระเพชรสีลา ดาลาวงค์ คณะภาคภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การจัดการ, การสอน, ภาษาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาศาสตร์ สำหรับนิสิตระดับปริญญาโท คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาศาสตร์ สำหรับนิสิตระดับปริญญาโท คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาศาสตร์ สำหรับนิสิตระดับปริญญาโท คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสมผสาน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยแบบเชิงปริมาณดำเนินการโดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 59 รูป/คน ซึ่งเป็นนิสิตสาขาวิชาภาษาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน ซึ่งทำการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท สรุปข้อมูล โดยวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้ ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของนิสิตต่อแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาศาสตร์โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 3.62 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาศาสตร์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุกคล คือ เพศ อายุ ระดับชั้นปี พบว่า ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาศาสตร์ ได้แก่ อยากให้ทางหลักสูตรคัดเลือกผู้มีความรู้ความเข้าใจที่แน่นและเชียวชาญจริงๆทางด้านการแนะนำเรื่องการทำวิทยานิพนธ์ทั้งภายในและภายนอกเข้ามาให้เป็นที่ปรึกษาแก่นิสิตเฉพาะด้าน และทางหลักสูตรควรจะมีการจัดการเรียนการสอนเพิ่มเกี่ยวกับภาษาเพื่อนิสิตที่ยังมีความรู้ด้านภาษาที่ยังไม่เพียงพอ เครื่องมือในการเรียนการสอนถือว่ายังมีไม่เพียงพอเท่าที่ควร นิสิตส่วนหนึ่งยังไม่รู้จักสื่อทางด้านภาษาศาสตร์มากเพียงพอ ควรให้ครูบาอาจารย์ได้พบปะกับนิสิตมากขึ้น นิสิตไม่เข้าใจในวิธีการประเมินผลของการเรียน ซึ่งทำให้นิสิตไม่ค่อยมีความกระตือรือร้น หรือใจใส่ต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นที่เป็นผลกระทบต่อการเรียนของนิสิตเอง ควรจะมีวิธีการวัดผลอย่างเป็นขั้นเป็นตอนที่ชัดเจน โดยมีการแสดงการวัดผลให้นิสิตได้รับรู้และเข้าใจในเกณฑ์การให้คะแนน เพื่อให้นิสิตได้รับรู้และนำไปแก้ไขในส่วนที่บกพร่อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่นิสิตเป็นอย่างมาก.

References

มหาวิทยาลัยสุโขไทยธรรมาธิราช. 2539. เอกสารประกอบการสอนการใช้ภาษาไทย. นนทบุรี:
มหาวิทยาลัยสุโขไทยธรรมาธิราช.
พระมหาชนแดน สมบุตร. 2549. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนพระ
ปริยัติธรรม แผนกธรรม และบาลี สำนักเรียนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุ
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราช
ภัฎสวนสุนันทา.
รศ. นิลรัตน์ กลี่นจันทร์. 2560. รายชื่อนิสิต ปริญญาโท ปี 1-2. สาขาภาษาศาสตร์ คณะมนุษย
ศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ภาคการศึกษาที่ 1.
วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. 2543. ความเป็นครูและจรรยาบรรณวิชาชีพอาจารย์ระดับอุดมศึก
ษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงหรณมหาวิทยาลัย.
สมศักดิ์ สินธุรเวชญ์. 2545. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : วัฒนาพาณิช.
สุวิไล เปรมศรีรัตน์. 2560. ภาษาศาสตร์ประยุกต์เพื่อการพัฒนา: ฟื้นคน ฟื้นภาษาในภาวะวิกฤต.
แหล่งที่มา: https://www.lc.mahidol.ac.th/lcjournal/FullPaper/JLC32-2-Suwilai-
PS.pdf.
ทิพวรรณ นันตระกู. 2544. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของนักศึกษาที่เข้าศึกษาต่อในหลักสูตร
การศึกษาต่อเนื่อง ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสคร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.วิทยา
นิพนธ์ศึกษาศษสตรมหาบัณฑิต. สาขาอาชีวศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.
พนมวรรณ์ วุฒิสาร. 2544. สภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของครูสังคมศึก
ษาระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนเอกชน จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรรณา ฐิติโรจน์ไพบูลย์. 2560. การสังเคราะห์งานวิจัยทางภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา. ปริญญานิพนธ์.
แหล่งที่มา: https://books.google.co.th/books/about/C.html?id=KmwYNQEA
CAAJ&rediresc=y.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-27