การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามองค์ธรรม พละ 5 ด้วยการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามองค์ธรรม พละ 5 ด้วยการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวติแบบเคลื่อนไหว กลุ่มประชากรประกอบด้วยผู้ป่วยทั่วไปและสมาชิกของชมรมการแพทย์แผนไทยวัดบางกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 40 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 15 คน คัดเลือกจากความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป และใช้สถิติอ้างอิงแบบ t- test ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม
ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนเข้าร่วมกิจกรรมและหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมแล้ว พบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านความศรัทธา อยู่ในระดับ มาก อันดับ 1 การทำสิ่งใด ย่อมได้ผลตามสิ่งนั้น อันดับ 2 การหาความสุขทางใจด้วยการนั่งสมาธิ อันดับ 3 การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวช่วยทำให้อยู่กับปัจจุบัน ด้านความวิริยะ อยู่ในระดับปานกลางอันดับ 1 สามารถเจริญสติได้ในทุกอิริยาบถ อันดับ 2 มีสติพร้อมในการปฏิบัติแบบเคลื่อนไหวทุกครั้ง อันดับ 3 มีการปฏิบัติเจริญสติแบบเคลื่อนไหวมือเสมอ ด้านสติ อันดับ 1 การเจริญสติทำให้อยู่กับปัจจุบันได้ อันดับ 2 การเจริญสติช่วยให้ความจำดีขึ้น อันดับ 3 มีความตื่นตัวมากขึ้นเมื่อฝึกเจริญสติ การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสมาธิ อันดับ 1 สามารถทำงานได้ดีขึ้นและถูกต้องเมื่อฝึกการเจริญสติ อันดับ 2 การทำสมาธิเป็นเรื่องง่ายขึ้น อันดับ 3 มีสติรู้สึกตัวมากขึ้นเมื่อฝึกการเจริญสติ การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านปัญญา อันดับ 1 ใส่ใจกับสุขภาพตัวเองมากขึ้น อันดับ 2 การฝึกเจริญสติช่วยทำให้มีความสุข อันดับ 3 มีชีวิตอยู่กับความเป็นจริงมากขึ้นเมื่อฝึกเจริญสติ โดยภาพรวมของการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามองค์ธรรม พละ 5 พบว่า การเจริญสติช่วยทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านศรัทธา ด้านวิริยะ ด้านสติ ด้านสมาธิ และด้านปัญญา หลังการเข้ากิจกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01