การรับรู้การบริการสุขภาพตามหลักพรหมวิหารธรรม 4 ประการ ของผู้มารับบริการแผนกส่องกล้องตรวจหลอดลมสถาบันโรคทรวงอก

ผู้แต่ง

  • จิตชนก บุญสำราญ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) ศึกษาระดับการรับรู้การให้บริการสุขภาพตามหลักพรหมวิหารธรรม 4 ประการของผู้มารับบริการจากเจ้าหน้าที่พยาบาลสถาบันโรคทรวงอก แผนกส่องกล้องตรวจหลอดลม 2) ศึกษาเปรียบเทียบระดับการรับรู้การให้บริการสุขภาพตามหลักพรหมวิหารธรรม 4 ประการของผู้ที่มารับบริการจากเจ้าหน้าที่พยาบาลสถาบันโรคทรวงอก แผนกส่องกล้องตรวจหลอดลม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่มารับบริการจากเจ้าหน้าที่พยาบาลสถาบันโรคทรวงอก แผนกส่องกล้องตรวจหลอดลม จำนวน 217 คน จากการใช้ตารางสุ่มสำเร็จรูปของ เครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้การให้บริการสุขภาพตามหลักพรหมวิหารธรรม 4 ประการ ค่าความเที่ยงตรงของแบบวัดทั้งฉบับ 0.978 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
การแจกแจงค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบสมมุติฐานใช้ค่าคะแนนที่ (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียวด้วย (F-test One - Way ANOVA) ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้การให้บริการสุขภาพตามหลักพรหมวิหารธรรม 4 ประการของผู้มารับบริการสุขภาพในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ย 4.54 การเปรียบเทียบระดับการรับรู้การให้บริการสุขภาพตามหลักพรหมวิหารธรรม  4 ประการของผู้มารับบริการที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันในด้าน เพศ อายุ สถานภาพ วุฒิการศึกษา อาชีพ ในภาพรวมของการรับรู้ไม่แตกต่างกัน สำหรับด้านสถานภาพเมื่อจำแนกรายด้านพบว่า ด้านหลักเมตตามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมารับบริการได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า 1. ด้านเมตตา มีการดูแลผู้ป่วยดุจญาติให้ความเอื้อเฟื้อ เสียสละเวลาในการทำงานอย่างสุดความสามารถใช้วาจาที่อ่อนโยน ให้บริการตลอดเวลาช่วยให้ผู้ป่วยและญาติได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ 2.ด้านกรุณา ช่วยในการสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจากความกลัวต่อโรคและการรักษา 3. ด้านมุทิตา มีการสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ป่วยโดยใช้หลักธรรมและเป็นที่ปรึกษาที่ดี 4. ด้านอุเบกขา ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความสบายใจในการให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ยิ่งในด้านการตัดสินใจอย่างรอบด้านรอบครอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้ป่วยช่วยให้ระบบการดูแลรักษาเป็นไปตามกระบวนกรที่ถูกต้องช่วยให้ผู้ป่วยและญาติพร้อมต่อการเผชิญปัญหาในชีวิต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-04