การศึกษาเชิงเปรียบเทียบภาษาถิ่นลาวเวียงกับภาษาไทยถิ่นอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • พระจุ่น ปญฺญาวุโธ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เรื่อง “การศึกษาเชิงเปรียบเทียบภาษาถิ่นลาวเวียงกับภาษาไทยถิ่นอุบลราชธานี” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบเสียงภาษาถิ่นลาวเวียง
2) ศึกษาระบบเสียงภาษาไทยถิ่นอุบลราชธานี 3) ศึกษาเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาถิ่นลาวเวียงกับภาษาไทยถิ่นอุบลราชธานี การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาจากเอกสารและสัมภาษณ์ผู้บอกภาษา จำนวน 10  คน คือ ผู้บอกภาษาถิ่นลาวเวียง
และภาษาไทยถิ่นอุบลราชธานี 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รายการคำศัพท์สัมภาษณ์ผู้บอกภาษา จำนวน 1,350 คำ และตารางทดสอบเสียงวรรณยุกต์ เพื่อศึกษาลักษณะของภาษาถิ่นลาวเวียง และภาษาไทยถิ่นอุบลราชธานี แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบว่า ภาษาทั้งสองมีหน่วยเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน คือ มี 20 หน่วยเสียง ได้แก่ /k/ , /kh/ , /ŋ/, /c/, /ɲ/, /d/, /t/, /th/, /n/, /b/, /p/, /ph/, /f/, /m/, /y/, /l/, /w/, /s/,/h/, /?/ หน่วยเสียงพยัญชนะท้าย 9 หน่วยเสียง ได้แก่ /-k/, /-t/,/-p/, /-ŋ/, /-n/, /-m/, /-y/, /-w/,/-?/ หน่วยเสียงสระมี 21 หน่วยเสียง แบ่งเป็นสระเดี่ยว 18 หน่วยเสียง ได้แก่ /a/ , /a:/, /i/, /i:/, /ɨ/, /ɨ:/, /u/,/u:/, /e/ , /e:/, /ԑ/,/ԑ:/, /o/, /o:/,  /ɔ/ , /ɔ:/ , /ə/ , /ə:/ และหน่วยเสียงสระประสม 3 หน่วยเสียง ได้แก่ /i:a/, /ɨ:a/,/u:a/   มีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียง วรรณยุกต์สามัญ กลาง-ระดับ วรรณยุกต์เอก ต่ำ-ตก วรรณยุกต์โท สูง-ตก วรรณยุกต์ตรี สูง-ขึ้น วรรณยุกต์จัตวา ต่ำ-ขึ้น วรรณยุกต์พิเศษ กลาง-ขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-04