ความหมายวิธีการวัด องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ จิตสาธารณะ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มุ่งศึกษาสังเคราะห์ (1) ความหมายวิธีการวัด องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้
จิตสาธารณะ (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มรัตนโกสินทร์ หน่วยของวิเคราะห์ แบ่งเป็น 1) ประชากรนักศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ในกรุงเทพมหานคร 2) เล่มรายงานการวิจัยและบทความวิจัยด้านจิตสาธารณะ จำนวน 5 ± 10 เรื่อง ช่วงระยะเวลาที่ศึกษา ระหว่าง ปี 2552- 2559 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกเกณฑ์คัดเลือกงานวิจัย แบบบันทึกผลการวิจัย แบบบันทึกคุณภาพเครื่องมือวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีสังเคราะห์เชิงเนื้อหา สรุปความหมาย และสังเคราะห์ผลการวิจัยซึ่งใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regressions) เพื่ออธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะ ผลการศึกษาพบดังนี้
ประการที่ 1 ความหมายวิธีการวัด องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ จิตสาธารณะ คือ (1) การดูแลรักษาหลีกเลี่ยงการกระทำที่ก่อให้เกิดความชำรุดเสียหาย ความตั้งใจที่จะรักษาให้คงไว้ตามวิสัยที่สามารถกระทำได้ ความรู้สึกภาคภูมิใจ ความรู้สึกหวงแหน การตระหนักรู้ถึงคุณค่า การไม่นำ
สาธารณสมบัติมาเป็นของตนเอง ความเต็มใจที่จะรักษาสาธารณสมบัติ และการมีส่วนร่วมรับผิดชอบสาธารณสมบัติ (2) การตระหนักรู้ถึงหน้าที่ที่จะอุทิศตนรับผิดชอบ การรับอาสาที่จะอนุรักษ์ ความรู้สึกมีส่วนได้ส่วนเสียในสาธารณสมบัติ ความรู้สึกเป็นเจ้าของ การตระหนักรู้ถึงหน้าที่ที่จะต้องดูแลให้คงสภาพเดิมเพื่อการสืบทอดต่อไป (3) การรับรู้ถึงสิทธิของบุคคลอื่นเสมอเหมือนเช่นสิทธิของตน การรู้สึกเทิดทูนงานสร้างสรรค์ที่ทรงคุณค่า การมีจิตสำนึกค่านิยมที่ดีในความเป็นชาติ ความรู้สึกภาคภูมิใจ การตระหนักรู้ถึงความมุ่งมั่น เพียรพยายาม ผดุงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ
ประการที่ 2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะ มีดังนี้ (1) ด้านการใช้ ตัวแปรพยากรณ์ ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูบุตรตามแนวพุทธ เหตุผลเชิงจริยธรรมพื้นฐานประสบการณ์ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และการเห็นแบบอย่างบุคคลรอบข้าง (2) ด้านการถือเป็นหน้าที่ ตัวแปรพยากรณ์ ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูบุตรตามแนวพุทธ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน พื้นฐานประสบการณ์,เหตุผลเชิงจริยธรรม การเห็นแบบอย่างบุคคลรอบข้าง และพื้นฐานทางจิต (3) ด้านการเคารพสิทธิ ตัวแปรพยากรณ์ ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูบุตรตามแนวพุทธ ความเชื่ออำนาจในตน การเห็นแบบอย่างบุคคลรอบข้าง และ พื้นฐานประสบการณ์