การเสริมสร้างสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ ในสำนักปฏิบัติธรรมกรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาการเสริมสร้างสุขภาวะแบบองค์รวมและศึกษาปัจจัยเชิงพุทธกับการเสริมสร้างสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในสำนักปฏิบัติธรรม กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสัมพันธ์เปรียบเทียบ โดยกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุซึ่งเป็นอาสาสมัคร ในสำนักปฏิบัติธรรมในกรุงเทพมหานคร จำนวน 40คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ เครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพ และแบบสอบถาม โดยคุณภาพการวัด () = .945 เก็บรวบรวมข้อมูล โดยตรวจวัดสัญญาณชีพ และแบบวัดสุขภาวะแบบองค์รวม ก่อนและหลังเจริญจิตภาวนาตามหลักอานาปานสติ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติทดสอบ ได้แก่ t-test และ F-test ผลการศึกษาที่สำคัญพบดังนี้
ประการที่ 1 ผลเปรียบเทียบ ก่อน-หลังเจริญจิตภาวนา พบว่า ผู้สูงอายุในสำนักปฏิบัติธรรมหลังจากที่ได้เจริญจิตภาวนา มีสุขภาวะแบบองค์รวมทุกด้านดีกว่า ก่อนเจริญจิตภาวนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขภาวะทางจิตวิญญาณ ภายหลังที่ได้เจริญจิตภาวนาแล้วส่งผลให้มีสุขภาวะแบบองค์รวมดีขึ้น
ประการที่ 2 ผู้สูงอายุในสำนักปฏิบัติธรรม มีสุขภาวะทางจิตวิญญาณ ดีกว่า สุขภาวะด้านอื่นๆ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ (1) มีอัตราการหายใจต่างกัน (2) มีอัตราการเต้นของหัวใจต่างกัน
(3) มีความดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัวต่างกัน (4) มีความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัวต่างกัน (วัดก่อนเจริญจิตภาวนา) มีสุขภาวะแบบองค์รวม โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ประการที่ 3 ผู้สูงอายุในสำนักปฏิบัติธรรม (วัดหลังเจริญจิตภาวนา) พบว่า (1) ผู้ที่มีอัตราการหายใจ 19.95 ครั้ง/นาที มีสุขภาวะแบบองค์รวม ดีกว่า ผู้สูงอายุที่มีอัตราการหายใจ 19.96 ครั้ง/นาที (2) ผู้ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจ 76.93 ครั้ง/นาที มีสุขภาวะทางจิตใจ
ดีน้อยกว่า ผู้ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจ 76.94 ครั้ง/นาที
ประการที่ 4 ผู้สูงอายุในสำนักปฏิบัติธรรม (วัดหลังเจริญจิตภาวนา) พบว่า (1) ผู้ที่มีความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว 76.18 มีสุขภาวะทางสังคม ดีกว่า ผู้ที่มีความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว 76.19 (2) ผู้ที่มีความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว 76.18 มีสุขภาวะทางจิตวิญญาณดีกว่า ผู้ที่มีความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว 76.19