การศึกษาเปรียบเทียบเรื่องเอกัตลักษณ์ตามหลักอภิชาติ 6 และจริต 6 ในพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • กฤษณา เลิศสุขประเสริฐ
  • นวลวรรณ พูนวสุพลฉัตร

บทคัดย่อ

 บุคคลแต่ละคนที่เกิดมาในโลกนี้ จะมีลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่แสดงออกมาให้ปรากฏเป็นเอกัตลักษณ์หรือบุคคลิกลักษณะ ซึ่งอาจสืบเนื่องมาจากจิตสันดานเดิมหรือสภาพแวดล้อมทางสังคมในปัจจุบันก็ได้ โดยบริบทนี้ การสำแดงตัวตนของบุคคลให้ปรากฏออกมาเป็นเอกัตลักษณ์จะอยู่ในขอบข่ายของหัวข้อธรรม 2 หมวดคือ อภิชาติ 6 และ จริต 6 ในพระพุทธศาสนา ดังนั้นบทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบข้อแตกต่างและผลกระทบต่อสังคมของบุคคลตามอภิชาติ 6 และจริต 6 ตลอดจนแนวทางอบรมพัฒนาตามอภิชาติ และจริตนั้นๆ ด้วย กล่าวคือ บุคคลเกิดในสกุลต่ำเรียกว่ากัณหาภิชาติ เกิดในสกุลสูงเรียกว่าสุกกาภิชาติ พระพุทธศาสนาไม่ถือเรื่องชาติกำเนิดเป็นสำคัญ แต่ถือหลักการประพฤติปฏิบัติเป็นตัวตั้ง ถ้าทุกคนประพฤติสุจริตก็จัดเป็นพวกสุกกาภิชาติหมด ถ้าทุกคนประพฤติทุจริตก็จัดเป็นพวกกัณหาภิชาติหมด และถ้าพวกสุกกาภิชาติปฏิบัติจนบรรลุพระนิพพานถือว่าพ้นจากกรรมดำหรือขาว เข้าถึงโลกุตตรธรรมแล้ว แม้ในส่วนของจริต 6 ซึ่งได้แก่บุคคลตามราคจริต โทสจริต โมหจริต สัทธาจริต พุทธิจริตหรือญาณจริต และวิตกจริต ก็เช่นกัน เป็นวิธีการสังเกตศึกษาบุคคลิกลักษณะของคน เพื่อจะได้แนะนำฝึกอบรมได้เหมาะสม และในทำนองเดียวกันก็เป็นประโยชน์ในการคบหาสมาคมด้วย ทุกคนตามอภิชาติและจริตล้วนมีผลกระทบต่อสังคม กล่าวคือถ้าเป็นฝ่ายทุจริต สังคมหมู่มากก็จะเดือดร้อนวุ่นวาย ถ้าเป็นฝ่ายสุจริต สังคมก็จะเจริญก้าวหน้า อยู่เย็นเป็นสุขกันทั่วหน้า การพัฒนาฝ่ายทุจริตให้เป็นฝ่ายสุจริตจึงเป็นหัวใจของการศึกษาเรียนรู้เอกัตลักษณ์ของอภิชาติ 6 และจริต 6

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-04