การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ
คำสำคัญ:
การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่าน, การเรียนแบบร่วมมือบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์ การอ่านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75:75 (2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียน กับหลังเรียนโดยใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่านร่วมกับ การเรียนแบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน วิธีการสุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์ การอ่านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ จำนวน 14 แผน เวลา 14 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์ การอ่านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละและค่าสถิติ t – test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
- ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่านร่วมกับการเรียน แบบร่วมมือ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 78.38:80.22
- การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่านร่วมกับการเรียน แบบร่วมมือ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่านร่วมกับ การเรียนแบบร่วมมือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จุฑาทิพย์ จันทิชัย, สมาน เอกพิมพ์และทิพาพร สุจารี. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวยุทธศาสตร์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,17(3), 165-178.
ทิพาพร สุจารี. (2553). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้ยุทธศาสตร์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่าน (SRE-Scaffolding Reading Experience). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาดุษฎีบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2555). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2555 ปรับปรุงแก้ไข. กรุงเทพ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
พุธทิตา ดอนฟุ้งไพร. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนแบบร่วมมือและการเรียนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม,
พร้อมพรรณ อุดมสิน. (2538). การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สํานักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2540). สถิติวิทยาการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาสน์.
วชิรเกียรติ เบ้าทองจันทร์. (2553). การใช้แนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ การอ่านเพื่อพัฒนาการอ่านภาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและการรู้จักคำศัพท์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
วัชรีพร โกมาสถิตย์. (2540). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือและกิจกรรมในคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). เทคนิคและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สิริวรรณพิชา ธนจิราวัฒน์และคณะ. (2567). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ที่ได้รับการเรียนการสอนแบบร่วมมือแบบ เอส ที เอ ดี (STAD) และการเรียนการสอนแบบปกติ. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษศาสตร์แห่งรัตนโกสินทร์,6(1), 97-113.
สุพรรษา ศรประเสริฐ. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้และแนวคิดการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับ นักเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
Clark, K. F., & Graves, M. F. (2005). Scaffolding Students' Comprehension of Text. The Reading Teacher,58(6), 570-580.
Ekkayokkaya M. (2015). The Differences Between L1 and L2 Reading and Their Implications for English Reading Instruction. Pasaa Paritat Journal,(30),233-250.
Graves, M. F., Bonnei, B., & Graves. (1996). Scaffolding Reading Experiences for Inclusive classes. Education Leadership,53(5), 14-16.
James Pett. (1982). Reading as ESL: Skill at the University. English Teaching Forum, 20(3), 17-19.
Rosenshine, B., & Meister, C. (1992). The use of scaffolds for teaching higher-order cognitive strategies. Educational Leadership,49(7), 26-33.
Tappan, P. (2017). The Development of Supplementary English Reading Comprehension Exercise by Using Task-based Learning for Prathomsuksa Six Students.Master of Education Thesis Program in Curriculum and Instruction, Silpakorn University, Bangkok.
Vygotsky, L.S. (1934). Mind in Society: The Development of higher psychological processes. Cambridge, Massachusetts: The M.L.T Press.
Vygotsky, L. S., & Cole, M. (1978). Mind in society: Development of higher psychological processes. Harvard University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์