การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อภิวันท์ โอนสูงเนิน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การพัฒนา, รูปแบบการบริหารจัดการกีฬา, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน รูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่ วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบัน รูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่ 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) การประเมินความเป็นไปได้ และความถูกต้องของรูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการศึกษาพบว่า

  1. สภาพปัจจุบัน รูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
  2. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย ด้านนโยบาย ด้านงบประมาณ ด้านบุคคล ด้านสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก 2) กระบวนการด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การนำและการประเมินผล 3) ผลที่ได้ ประกอบด้วย ประชาชนทุกกลุ่มออกกำลังกาย และเล่นกีฬาจนเป็นวิถีชีวิต ผู้มีความเป็นเลิศทางการกีฬาได้รับการสนับสนุน และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม
  3. การประเมินการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ที่พัฒนาขึ้น มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสม มีความถูกต้องในการนำไปสู่การปฏิบัติ และมีประโยชน์อยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2553). แผนยุทธ์ศาสตร์สร้างกีฬาไทยสู่ความเป็นเลิศ (พ.ศ. 2553-2559). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมพลศึกษา. (2566). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 7 พ.ศ. 2566-2570. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.dpe.go.th/strategic- preview-451191791792.

เกียรติยศ ระวะนาวิก และ ศุภชัยยาวะประภาษ.(2566).การบริหารจัดการที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 8(3),123-136

กาญจนา ศรีเขียวพงษ์. (2564). แนวทางการบริหารจัดการด้านการพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศของเมืองกีฬา จังหวัดชลบุรี.การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2564

ชลิตพล สืบใหม่. (2560). การพัฒนารูแปบบการจัดการศูนย์กีฬานันทนาการองค์การบริหารส่วนตำบล.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชีวิน อ่อนลออ,และคณะ. ( 2563 ). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดขอนแก่น.วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย,10(2),161-169

ประเสริฐ ชวนบุญ. (2554). การศึกษาการนำนโยบายการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพนำไปปฏิบัติในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,22(2),17-31

พงษ์เอก สุขใส. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร.วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ,14(2),99-110

พัชสิริ ชมภูคำ. (2552). องค์การและการจัดการ.กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

สราวุฒิ พงษ์พิพัฒน์,และคณะ. (2561). พฤติกรรมสุขภาพของนักศึกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 1(1),34-45

ภานุ ศรีวิสุทธิ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์กีฬาเพื่อความเป็นเลิศ สถาบันการพลศึกษา. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา .บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วณิสรา เจริญรม,และคณะ. (2564). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการสนามกีฬาสวนเฉลิมพระเกียรติ80พรรษาเทศบาลตําบลท่ายางจังหวัดเพชรบุรี.วารสารสุขศึกษาพลศึกษา และสันทนากร, 47(1),198-210

สุชาดา จักรพิสุทธิ์. (2547). การศึกษา ทางเลือกของชุมชน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 27 (4),18 – 23.

เสนาะ ติเยาว์. (2551). หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ( 2565 ). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสาม.สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2566, จาก http://www.nesdb.go.th/download/plan13/สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่13.pdf.

Chelladurai. (2009). Management Guideline for Public Sports and Recreation in an Urban Setting: Case of Bangkok, Thailand. Faculty of Sports Science, Chulalongkorn University.

Covell, D., & Walker, S. (2007). Managing sport organizations: Responsibility for performance. New York, NY: Routledge

Daft, R.L. (2010). Management, (10thed.). Retrieved October 10, 2015, from http://www.bms.lk/ download/GDM_Tutorials/e-books/Management.pdf

Harold D, Koontz.(1972). Analysis of Managerial Functions. New York: McGraw - Hill Book Company,

Fayol, Henri. (1949). General and industrial management. London: Pitman and Sons.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.Educational and Psychological Measurement, 30(3),607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20

How to Cite

โอนสูงเนิน อ. (2024). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(3), 110–121. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/276805