ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดของผู้ประกอบการสินค้า OTOP จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • ศิริอมร กาวีระ สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • สาวิตรี จันท์วาน สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • นพพล พรหมรักษ์ สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

การสื่อสารทางการตลาด, สื่อออนไลน์, ผู้ประกอบการ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้สื่อออนไลน์ของผู้ประกอบการสินค้าOTOP จังหวัดตาก 2) ศึกษาวัตถุประสงค์การใช้สื่อออนไลน์ของผู้ประกอบการสินค้าOTOP และ 3) ศึกษารูปแบบการใช้สื่อออนไลน์ของผู้ประกอบการสินค้า OTOP จังหวัดตาก เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีกลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่ม คือ ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 3 คน และผู้ประกอบการสินค้า OTOP จังหวัดตาก จำนวน 20 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่การวิเคราะห์เชิงตรรกะ ความถี่ รอยละ คาเฉลี่ย และค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
     1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้สื่อออนไลน์ของผู้ประกอบการสินค้า OTOP จังหวัดตากในมุมมองของตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ อันดับแรกคือความรู้พื้นฐานและการศึกษาค้นคว้าในการใช้เทคโนโลยีรองลงมาเนื้อหา ข้อความที่ใช้ในการสื่อสาร และความพร้อมของเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร ตามลำดับในมุมมองของผู้ประกอบการอันดับแรกคือ ยุคสมัย รองลงมาทักษะความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี/สื่อออนไลน์ และประเภทสินค้าและกลุ่มลูกค้า ผู้ประกอบการเป็นกลุ่มผู้ผลิตเครื่องดื่ม อาหาร ผ้า/เครื่องแต่งกาย ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร และประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก ประกอบธุรกิจ 2-4 ปี เป็นอาชีพรอง

     2. วัตถุประสงค์ในการใช้สื่อออนไลน์ อันดับแรกคือเพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่ายสินค้ารองลงมาการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย/ลูกค้าได้ง่าย รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ตอบข้อสักถามของลูกค้าตามลำดับ
     3. รูปแบบการใช้สื่อออนไลน์อันดับแรกคือ Line รองลงมา Facebook และติ๊กตอก(TIKTOK) ตามลำดับ จำนวนการใช้สื่อออนไลน์ 6-10 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 1-3 ชั่วโมง และประเภทสื่อออนไลน์ที่ใช้แล้วส่งผลให้ยอดขายมากที่สุดคือ Line รองลงมา Facebook ติ๊กตอก(TIKTOK) ตามลำดับ

References

กิตติ สิริพัลลภ. (2543).การตลาดอิเล็กทรอนิกส์. วารสารบริหารธุรกิจ. 23(87),43-56.

กิติมา สุรสนธิ. 2541.ความรูทางการสื่อสาร. กรุงเทพฯ:โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธันยวิช วิเชียรพันธ์. (2557).สื่อดิจิทัลกับการดํารงชีวิต. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์วังอักษร.

มาลินี คำเครือ และ ธีระพันธ์ โชคอุดมชัย.(2562). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าโอทอป ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี.วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า.6(1),1-8

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน.(2551).การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่2. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ระนันท์ คำ นึงวุฒิ และอัญชนา กลิ่นเทียน.(2562).การพัฒนารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์และการตลาดออนไลน์ สำหรับสินค้า OTOP ในประเทศไทย กรณีศึกษาสินค้า OTOP จังหวัดนครนายก.วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม.7(2),32-45.

สวิตา อยู่สุขขี และอรคนางค์ นวลเจริญ.(2565).การสื่อสารการตลาดดิจิทัลเพื่อสร้างการรับรู้ของ OTOP นวัตวิถี บ้านพุแค อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี.วารสารสุทธิปริทัศน์,36(2),83-98

สมคิด บางโม.(2555).การเป็นผู้ประกอบการ.กรุงเทพ ฯ : เอสเค ยุ๊คส์.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตาก.(2565).โครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge – Based OTOP : KBO) เชิงปฎิบัติการให้ความรู้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่.วันที่ 13 – 14 ธันวาคม 2565.

บริษัท อาอุน ไทย แลบบอราทอรี่ส์ จำกัด .(2564).การตลาดออนไลน์.(ออนไลน์).สืบค้นจาก: https://aun-thai.co.th/blog/marketing-blog/online-marketing/ (16 กุมภาพันธ์ 2567).

ผู้จัดการออนไลน์.(2567).หนุนยกระดับ SMEs-สินค้า OTOP ในรูปแบบ E-commerce. (ออนไลน์).สืบค้นจาก: https://mgronline.com/politics/detail/9670000008142(20 กุมภาพันธ์ 2567).

สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน.(2566): ภาพรวม OTOP.(ออนไลน์).สืบค้นจาก: https://otop.cdd.go.th/ (19 กุมภาพันธ์ 2567).

อรุณี อ่อนสวัสด์ิ. (2551).ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management (15th ed.). England: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

กาวีระ ศ., จันท์วาน ส., & พรหมรักษ์ น. . . (2024). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดของผู้ประกอบการสินค้า OTOP จังหวัดตาก. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(1), 249–258. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/276211