การศึกษาพฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามแนว เศรษฐกิจพอเพียง ของบ้านป่าหวาย ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
การจัดทำบัญชีครัวเรือน, เศรษฐกิจพอเพียง, บ้านป่าหวายบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดทำบัญชีครัวเรือนของบ้านป่าหวาย ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก 2) ศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจัดทำบัญชีตามครัวเรือนของบ้านป่าหวาย ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนในบ้านป่าหวาย ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก จำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง ควบคู่กับการบรรยาย
ผลการศึกษาพบว่า
- การจัดทำบัญชีครัวเรือน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีรายรับมาจาก 3 ส่วน คือ รายรับจากการขายผลผลิต รายรับจากการขายผลผลิตและค้าขายหรือรับจ้าง และ มีรายรับจากขายผลผลิตและเงินเดือนหรือค้าจ้าง และ ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน มีรายรับโดยเฉลี่ยเท่ากับ 95,999.45 บาท โดยมีรายรับต่ำสุดเท่ากับ 7,680 บาท และมีค่าสูงสุดเท่ากับ 32,400 บาท ในขณะที่รายจ่ายโดยเฉลี่ยเท่ากับ 32,892.38 บาท มีรายจ่ายที่จำเป็น โดยเฉลี่ยเท่ากับ 31,465.52 บาท รายจ่ายที่ไม่จำเป็นโดยเฉลี่ยเท่ากับ 1,426.86 บาท รายจ่ายเพื่อการลงทุน โดยเฉลี่ยเท่ากับ 19,365.81 บาท และ ชำระคืนหนี้สิน โดยเฉลี่ยเท่ากับ 4,567.16 บาท
- สภาพปัญหาในการจัดทำบัญชีครัวเรือนส่วนใหญ่ของบ้านป่าหวาย ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก (1) ด้านปัจจัยภายใน โดยภาพรวมให้ความสำคัญระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียดเรียงค่าคะแนนจากมากไปน้อยสามลำดับแรกพบว่า การจัดทำบัญชีครัวเรือนมีความยุ่งยากและซับซ้อนเกินไป รองลงมาคือ ไม่มีการบันทึกบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่องและ และ ไม่สามารถจดจำรายการรายรับ-รายจ่ายที่เกิดขึ้นได้ และ (2) ด้านปัจจัยภายนอก โดยภาพรวมให้ความสำคัญระดับมาก เมื่อพิจาราณในรายละเอียดเรียงค่าคะแนนจากมากไปน้อย พบว่า เจ้าหน้าที่ไม่มีการติดตามผล รองลงมาคือ ขาดแหล่งข้อมูลในการศึกษาเพิ่มเติม และ ขาดการช่วยเหลือ แนะนำ มี ตามลำดับ
References
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด,(ออนไลน์).แผนพัฒนาจังหวัดตาก (พ.ศ. 2566 - 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568.สืบค้นจากhttps://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER2/DRAWER083/GENERAL/DATA0002/00002135.PDF
ปาลิดา เชษฐ์ขุนทด และ ปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี.(2557).ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนของประชาชนในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา.วารวิทยาลัยนครราชสีมา,11(1),1-9.
ปภาพิต ศรีสว่างวงศ์. (2562). แนวทางการจัดทำบัญชีครัวเรือนสู่การสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการบัญชี. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ปาริชาต โยตะสิงห์ และคณ,(2563) ศึกษาพฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านเก่าน้อย ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย.รายงานการวิจัย หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า. (2565). ภาพรวมคนจนในปี 2565 อําเภอพบพระ จังหวัดตาก. จาก https://www.tpmap.in.th/2565/6307.องค์การบริหารส่วนตําบลคีรีราษฎร์. (2565). สภาพทั่วไปตําบลคีรีราษฎร์ อําเภอพบพระ จังหวัดตาก.
จาก http://www.khirirat.go.th/page.php?id=3
สุนันทา ศรีบุญเรือง.(2561).การจัดทำบัญชีครัวเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรจังหวัดอุบลราชธานี.สารนิพนธ์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
แสงเดือน อยู่เกิด. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มศิลปหัตถกรรมในเขต จังหวัดภาคกลาง. บัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สมาคมธนาคารแห่งประเทศไทย,(ออนไลน์).หนี้ครัวเรือนไทยจ่อเร่งตัวแตะ 91.4% ต่อ GDP ภายในสิ้นปี 2567 หนี้บัตรเครดิต ลีสซิ่ง และสินเชื่อส่วนบุคคล โตเร็วสุดในรอบทศวรรษ.https://www.tba.or.th
เอกณรงค์ เรืองรัตน์.(2561). ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและแนวทางการส่งเสริม การจัดทำบัญชีรายรับ -รายจ่ายในครัวเรือนของคนทำงานในเขตบางกะปิ จังหวัดกรุงเทพมหานคร.การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลยัหอการค้าไทย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์