ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์ในจังหวัดตาก
คำสำคัญ:
การตัดสินใจซื้อ, ช่องทางออนไลน์, จังหวัดตากบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยทางการตลาด และพฤติกรรมในการซื้อสินค้าทางสื่อออนไลน์ของผู้บริโภค รวมถึงการศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการซื้อสินค้าทางสื่อออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ผู้บริโภคในจังหวัดตากจำนวน 348,308 คน โดยวิธีของทาโร่ ยามาเน่ กำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ 95% ในการหากลุ่มประชากรตัวอย่างได้ จำนวน 399.54 ผู้วิจัยจึงใช้ประชากรจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติเชิงปริมาณประกอบด้วย Independent Sample t-test, Chi-square แล ะ Multinominal Logistic Regression Analysis
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21 - 25 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า นักเรียน/นักศึกษา มีระยะเวลาทำงานน้อยกว่า 1 ปี และรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท สื่อที่ใช้คือ Facebook มีการซื้อ 1 – 2 ครั้งต่อเดือน และเลือกซื้อด้วยราคาน้อยกว่า 1,000 บาท ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อสื่อที่ใช้ซื้อสินค้าของผู้บริโภค ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์และด้านราคา ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อความถี่ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภค ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ส่วนระดับราคาในการซื้อสินค้านั้นไม่มีปัจจัยทางการตลาดตัวใดที่ส่งผลเลยทั้งสิ้น
References
ปัญญพัฒน์ เตชะศิริเชษฐ์.(2563).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ ตามแนวคิดการบริโภคอย่างยั่งยืนของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. การจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
มูลนิธิโครงการสาลานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2565, เมษายน 20). อินเทอรเน็ตในประเทศไทย. ออนไลน์https://www.saranukromthai.or.th/index.php.
พันชิด ปิณฑะดิษและคณะ.(2561).ความเต็มใจที่จะจ่ายและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อข้าว.ปลอดสารคณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รัตติยา มีประเสริฐสกุล.(2556).ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ศิระ อินทรกำธรชัย. (2565, เมษายน 22). ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกประจำปี 2559. ออนไลน์ http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=959000003929
สิริพัฒนัญ ชินเศรษฐพงศ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักบริหารการทะเบียน.กรมการปกครอง. (2566, เมษายน 22). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร 2566. ออนไลน์ https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage.
Kaneko, N., & Chen, W.S., (2005). Willingness to Pay for Genetically Modified OIL, Conflakes,andSalmon : Evidence from U.S. Telephone Survey. Journal of Argicultural and Applied Economics. 37(3 December): 701-719.
Rust & Kannan (2002). E-service:New Directions in Theory and Practice. New York : Armonk.
Social, W. A. (2565, เมษายน 22). รายงานสถิติ Thailand Digital Stat 2022. ออนไลน์ https://www.everydaymarketing.com
Taro.Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์