ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของบุคลากรในการนำปัญญาประดิษฐ์ด้านการตลาดเข้ามาใช้ในองค์กรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
ปัญญาประดิษฐ์ด้านการตลาด , เทคโนโลยีด้านการตลาด , ความพึงพอใจ , การบริหารจัดการองค์กรบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลทั่วไปขององค์กรและกลุ่มธุรกิจในการนำปัญญาประดิษฐ์ด้านการตลาดมาใช้ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของบุคลากรในการใช้ ปัญญาประดิษฐ์ด้านการตลาด 3) หาแนวทางในการบริหารจัดการปัญญาประดิษฐ์ด้านการตลาดในองค์กร เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือบุคลากรและเจ้าของธุรกิจในพื้นที่ กลุ่มตัวอย่าง 400 คน สุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ ยามาเน่ วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสถิติ ใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Independent Samples) และ F-test (One-way ANOVA)
ผลการศึกษาพบว่า
แนวทางการนำปัญญาประดิษฐ์ด้านการตลาดมาใช้ในธุรกิจในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง ควรเน้นที่ความง่ายในการใช้งานและการจัดการข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน การทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าและการพัฒนาการให้บริการให้สอดคล้องกับความต้องการเป็นสิ่งสำคัญ ควรมีการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างทีมงาน และเริ่มใช้งานปัญญาประดิษฐ์ด้านการตลาดในส่วนที่สามารถวัดผลได้ชัดเจน เช่น การวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า
References
สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2565). รายงานประจำปี 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, & ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2551). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ (หน้า 20-21). กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
Bhavika, R., Nidhi, R., & Sanjay, S. (2017). Chatbot for university related FAQs. 2017 International Conference on Advances in Computing, Communications and Informatics (ICACCI), 1525-1530. doi:10.1109/ICACCI.2017.8126057.
Fayol, H. (1964). General and Industrial Management (pp. 134-139). London: Pitman Publishing.
Gupta, R., & Katoch, P. (2024). The Role of Artificial Intelligence in Business Management. International Journal of Business Management, 12(2), 45-58.
kankann. (2020). Chatbot คืออะไร? Chatbot มีกี่ประเภท และ มีประโยชน์อย่างไร?. เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://tips.thaiware.com/1323.html.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.
Wilson, K., & Katoch, P. (2024). The Impact of Artificial Intelligence on Digital Marketing Strategies. Journal of Digital Marketing, 15(3), 112-128.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์