ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านนวดเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจใช้บริการ, ร้านนวดเพื่อสุขภาพบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการร้านนวดเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสมุทรปราการ (2) ศึกษาระดับการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านนวดเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสมุทรปราการ และ (3) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านนวดเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้บริการร้านนวดเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-Probability sampling) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota sampling) สถิติวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการมีความคิดเห็นเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา ด้านบุคคล ด้านส่งเสริมการตลาด และด้านลักษณะทางกายภาพ ตามลำดับ
2. ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการมีความคิดเห็นเฉลี่ยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดประกอบด้วย การประเมินและวิเคราะห์ทางเลือก การตัดสินใจใช้บริการ การประเมินพฤติกรรมภายหลังการใช้บริการ การแสวงหาข้อมูลและทางเลือก และการรับรู้ปัญหาหรือความต้องการ ตามลำดับ
3. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านนวดเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสมุทรปราการเรียงลำดับความสำคัญดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านกระบวนการ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีเพียงด้านราคาเท่านั้นที่ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย,(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฑารัตน์ พิริยะเบญจวัฒน์. (2564). ปัจจัยทางด้านส่วนผสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการสปาของผู้ใช้บริการสปาในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ. วิทยาลัยดุสิตธานี.
วิศิษย์ ฤทธิ์บุญชัย. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับบริการนวดแผนไทยของนักท่องเที่ยวในโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์). การค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ปภัสสร นิลวงค์. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการใช้บริการนวดแผนไทยในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รัฐบาลไทย. (2566). ข่าวทำเนียบรัฐบาล. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.thaigov.go.th/news/ contents/details/59937
ลัญชนา ครุทธะกระ. (2562). ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อผู้บริโภคในอำเภอเมืองลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัชรี มนัสสนิท และคณะ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการเข้ารับบริการด้านการแพทย์แผนไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วีรพัฒน์ ลาภทวีสมบูรณ์. (2564). การตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านสปา กรณีศึกษา Sarisa Beauty Palace. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2539). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : ธีระฟิลม์และไซเท็กซ์. (2545).
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์. (2546).
สุปรียา พงศ์ภูริพจน์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ใช้บริการสปาเสริมความงาม เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
สุภัทราวดี ชุมศรี. (2561). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการสปาเพื่อสุขภาพในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Booms, B.H. and Bitner, M.J.. (1981). Marketing Strategies and Organization Structures for Service Firms. In: Marketing of Services. American Marketing Association. Chicago
Kotler, Philip. (1997). Marketing management: analysis, planning, implementation and control. 5 th ed. Englewood Cliffs, NJ : Prentice Hall.
Kotler, P., & Keller, K. L.. (2018). Marketing Management. Pearson Prentice Hall.
Kotler, P. (2003). Marketing Management. Prentice-Hall, Upper Saddle River.
Schiffman, L.G. and Kanuk, L.L. (1994). Consumer behavior. Prentice-Hall, Englewood Cliffs.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์