การประยุกต์ใช้เครื่องมือการมองอนาคต เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิต หมู่ 8 คลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ไตรมาศ พูลผล คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
  • ศิวลัย จงจีรภัทร คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
  • ญาดา นภาอารักษ์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
  • สุริวิภาวรรณ ขุนพิลึก คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

เครื่องมือการมองอนาคต, การพัฒนา, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

จากผลกระทบทางด้านอุทกภัยในปี 2554 กลุ่มผู้ประกอบการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส จากทุนเดิมซึ่งเป็นที่นาและบ่อน้ำ รวมถึงในช่วงเวลาดังกล่าวยังมีน้ำขังอยู่เป็นจำนวนมากจึงได้เริ่มลงทุน และต่อยอดการเพาะเลี้ยงมาจนถึงปัจจุบัน จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งรูปแบบของปลาสด และปลาแดดเดียวจนเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ในปี 2558 ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานีในการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน และจัดหาช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย โดยสิ่งที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือ มาตรฐาน ความสะอาด ความปลอดภัย และการใส่ใจในการให้บริการเป็นอย่างยิ่ง

          สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้เกิดความยั่งยืน โดยการการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนของโครงการ (SROI) ประกอบด้วยการวิเคราะห์ 5 ด้านด้วยกัน คือ (1) Input (2) Activity (3) Output (4) Outcome (5) Impacts จากแนวทางการพัฒนาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นใน 5 มิติ คือ (1) ด้านเศรษฐกิจ (2) Education (3) Environmental (4) Social และ (5) Mind

          จากการวิเคราะห์แนวทางการใช้เครื่องมือการมองอนาคตร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไปสู่ความยั่งยืนพบว่า  การเตรียมความพร้อมสู่การเปลี่ยนแปลงที่จะช่วยให้กลุ่มวิสาหกิจเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ประกอบด้วย (1) มุมมองต่ออนาคต  (2) การกำหนดนัยยะต่อการวางแผน (3) การตัดสินใจร่วมกัน ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในอนาคต

References

ไชยยะ คงมณี. (2565). แนวคิดการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของโครงการวิจัย: Economic Analysis & Social Return On Investment, SROI, (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://rdo.psu.ac.th, (11 กรกฎาคม 2566).

นราวิทย์ ศรีเปารยะ. (2012). คุณสมบัติ นักพัฒนาตามทฤษฎี 5 IN (Innovation Mix). (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.gotoknow.org/posts/369101. (11 กรกฎาคม 2566).

สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม (IFI). (2562). เครื่องมือการมองอนาคต. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2565). การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม: Social Return On Investment (SROI). (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://thailand-sroi.online/. (11 กรกฎาคม 2566).

Dmc.tv. (2554). น้ำท่วมปทุมธานี สถานการณ์น้ำท่วมปทุมฯล่าสุด Update!. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.dmc.tv/article/12299. (11 กรกฎาคม 2566)

Popper, R. (2008, October). “How are foresight methods selected?”. Foresight. 10(6). 62-89.

Slaughter, R. (1996, October). “Future Studies: Form Individual to Social Capacity”. Futures. 28(8). 751-762.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20

How to Cite

พูลผล ไ., จงจีรภัทร ศ. ., นภาอารักษ์ ญ. ., & ขุนพิลึก ส. . . (2024). การประยุกต์ใช้เครื่องมือการมองอนาคต เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิต หมู่ 8 คลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(3), 364–375. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/274927