การศึกษาแนวทางการเพิ่มจำนวนลูกค้าประนอมหนี้ผ่าน APPLICATION GHB ALL BFRIEND กลุ่มลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ ฝ่ายบริหารหนี้ภูมิภาค

ผู้แต่ง

  • หทัยรักษ์ จิตตกิจ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • รวิดา วิริยะกิจจา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

Application GHB ALL BFRIEND, acceptance of technology, settlements

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจประนอมหนี้ผ่าน Application GHB ALL BFRIEND 2) เพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มจำนวนลูกค้าประนอมหนี้ผ่าน Application GHB ALL BFRIEND เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงปริมาณ ประชากร คือ ลูกค้าที่เคยประนอมหนี้ผ่าน Application GHB ALL BFRIEND กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 252 คน  วิธีการสุ่มตัวอย่างผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยผู้ศึกษาวิจัยได้นำข้อมูลจากแบบสอบถามมาสรุปและวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา ในการหาแนวทางการเพิ่มจำนวนลูกค้าประนอมหนี้ผ่าน Application GHB ALL BFRIEND กลุ่มลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ฝ่ายบริหารหนี้ภูมิภาค งานวิจัยนี้เป็นแบบ Problem base โดยการทำแผนภูมิก้างปลา (Ishikawa Diagram)

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เนื่องจากการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ

          2. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจใช้บริการอยู่ในระดับมาก เนื่องจากเลือกที่จะประนอมหนี้ผ่านApplication GHB ALL BFRIEND ก่อนเป็นอันดับแรกมากที่สุด รองลงมาจะแนะนำให้คนรู้จัก มาประนอมหนี้ผ่านApplication GHB ALL BFRIEND มากขึ้น

References

ชลธิดา แย้มกลีบบัว. (2565). อิทธิพลการยอมรับเทคโนโลยีและความไว้วางใจของผู้ใช้บริการ ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ สินค้าผ่านทางระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) Lazada. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชุตินันท์ เชี่ยวพานิชย์. (2563). การยอมรับเทคโนโลยี และพฤติกรรมที่มีต่อการตัดสินใจใช้บริการApplication Grap ของเจเนอเรชั่น C ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชรินทร์ เขียวรัตนา. (2563). ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการ QR Code ผ่านสมาร์ทโฟน กรณีศึกษา ลูกค้าธนาคารกรุงเทพ จากัด (มหาชน) ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2566). ข้อมูลธนาคารอาคารสงเคราะห์. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2566. จาก https://WWW.ghbank.co.th

สุทธิพร บินอารีย์. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีและความไว้วางใจที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง แอพพลิเคชั่น ของผู้ใช้บริการในประเทศไทย. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุธาสินี ตุลานนท์. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

อิสราวลี เนียมศรี. (2559). การตัดสินใจใช้บริการแอพพลิเคชั่น LINE MAN ในกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20

How to Cite

จิตตกิจ ห. . ., & วิริยะกิจจา ร. . . (2024). การศึกษาแนวทางการเพิ่มจำนวนลูกค้าประนอมหนี้ผ่าน APPLICATION GHB ALL BFRIEND กลุ่มลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ ฝ่ายบริหารหนี้ภูมิภาค. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(3), 343–353. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/274738