แนวทางการปฏิบัติในการเขียนงานบริการวิชาการแก่ชุมชน

Guidelines For Academic Services Writing to The Community

ผู้แต่ง

  • สุตาภัทร จันทร์ประเสริฐ ดร., อาจารย์ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ภิญญดา รื่นสุข ผศ.ดร., อาจารย์ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ศิริรัตน์ สัยวุฒิ ผศ.ดร., อาจารย์ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

บริการวิชาการ, การเรียนการสอนและการวิจัย, ชุมชน, การบูรณาการ

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการเรื่องนี้ เป็นบทความเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติในการเขียนงานบริการวิชาการแก่ชุมชน (service to the community) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในวิธีการปฏิบัติในการเขียนงานบริการแก่ชุมชน ซึ่งการบริการวิชาการแก่ชุมชน ถือเป็น 1ใน 5 พันธกิจหลักของคณาจารย์ในสถาบันการศึกษา ได้แก่ งานสอน  ผลิตบัณฑิต ทำวิจัย ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และบริการวิขาการแก่ชุมชน เป็นต้น ดังนั้นการบริการวิชาแก่ชุมชน จึงมีความเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย ที่คณาจารย์ในสถาบันการศึกษาสามารถนำมาบูรณาการร่วมกันได้กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนชุมชน เพื่อพร้อมให้คำปรึกษา           แก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของชุมชน และพัฒนาผู้ประกอบการมือใหม่สู่การเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพโดยการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน ที่คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการอยู่นั้น  มีทั้งการให้บริการแบบให้เปล่า และ การให้บริการแบบมีรายได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงการและหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ แต่จะอย่างไรก็ตามงานบริการวิชาการที่จัดทำขึ้น สามารถนำมาขอเป็นผลงานขอตำแหน่งทางวิชาการได้ ด้วยเหตุข้างต้น คณาจารย์ในสถาบันการศึกษา จึงมีความจำเป็นต้องทราบแนวทางการปฏิบัติในการเขียนงานบริการวิชาการแก่ชุมชน ซึ่งพบว่า องค์ประกอบของการเขียนงานบริการวิชาการชุมชน มี 11 องค์ประกอบ ได้แก่  1) กำหนดพื้นที่หน่วยงานหรือชุมชนที่จะบริการวิชาการ 2) สำรวจปัญหาและ ความต้องการของชุมชนที่ศึกษา 3) ประชุมชี้แจงผลการสำรวจความต้องการของชุมชนที่ศึกษา 4) ส่งข้อเสนอโครงการบริการวิชาการตามแบบฟอร์ม และส่งเข้าระบบของสถาบันการศึกษา 5) สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการบริการวิชาการระหว่างชุมชนตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6) สร้างแผนบริการวิชาการ 7) ดำเนินการตามแผนการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาชุมชนโดยผ่านการปรึกษา การอบรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ และการสร้างอาชีพ  8)  ติดตามความก้าวหน้าของโครงการบริการวิชาการและรวบรวมข้อมูล  9) มีการประเมินผลจากการบริการวิชาการและผลกระทบที่ได้รับจากการบริการวิชาการ 10) จัดทำรายงานสรุปผลประเมิน และ 11) นำผลการประเมินมาปรับปรุงและเผยแพร่ต่อไป

References

คณะกรรมการจัดการความรู้. (2563). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. หน้า 1-29

คู่มือระบบงานบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม สู่เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา. (2558). พิมพ์ครั้งที่ 1 โรงพิมพ์อักษรการพิมพ์. หน้า 1-54

จันทิมา องอาจ บรรเจิด เจริญเวช สนชัย ใจเย็น.(2561).การบริหารจัดการการบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี,15(1)

ชุติมา สัจจานันท์. (2558). การเขียนและเผยแพร่บทความวิจัยและบทความทางวิชาการจากงานวิจัย : มุมมองและการปฏิบัติของผู้เขียน และผู้ประเมิน. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำพงเพชร

มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.(2557). คู่มือการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. หน้า 1-6

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. (2565-2569). (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ. หน้า 1-64

สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2564). คู่มือปฏิบัติการกระบวนการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราภัฎสวนสุนันทา. หน้า 1-64

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.(2557). รายงานประจำปีการบริการวิชาการชุมชน. หน้า 37-50

สถาบันวิจัยและพัฒนา.(2564). คู่มือการปฏิบัติงาน (work manual) กระบวนการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 5) หน้า 1-49

สำนักบริการวิชาการคู่มือโครงการการบริการวิชาการ (ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยขอนแก่น). (2561). คู่มือการให้บริการวิชาการแก่สังคม 2561.หน้า 1-18

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.(2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557. กรุงเทพฯ : สำนักมาตรฐาน และคุณภาพอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite