สมรรถนะวิชาชีพบัญชีที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในอาชีพของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา สาขาวิชาบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

สมรรถนะวิชาชีพบัญชี, ความสำเร็จในอาชีพ, นักบัญชี

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะวิชาชีพบัญชีของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จในอาชีพของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรีและ 3) เพื่อศึกษาสมรรถนะวิชาชีพบัญชีที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในอาชีพของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรีด้านบทบาทการทำงาน ด้านความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล ด้านการเงินและ ด้านความก้าวหน้าในการเลื่อนตำแหน่ง เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 405 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ

     ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะวิชาชีพบัญชีของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พบว่าด้านทักษะทางวิชาชีพระดับมากที่สุด  2) ระดับความสำเร็จในอาชีพของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรีอยู่ในระดับมาก พบว่า ด้านที่นักบัญชีให้ความสำคัญกับระดับความสำเร็จในอาชีพมากที่สุด คือด้านบทบาทการทำงาน 3) สมรรถนะวิชาชีพบัญชีต่อความสำเร็จในวิชาชีพของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรี ตัวแปรพยากรณ์มีค่า Tolerance ที่มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 0.265 และ VIF มีค่าน้อยที่สุด 2.601 ถือว่าตัวแปรอิสระไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างรุนแรง การวิเคราะห์พบว่าตัวแปรของสมรรถนะวิชาชีพบัญชีประกอบไปด้วย ด้านความรู้ความสามารถ ด้านทักษะทางวิชาชีพ ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านจริยธรรมในการปฏิบัติงาน และด้านทัศนคติในวิชาชีพ มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในอาชีพของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05 ดังนั้นจึงยอมรับสมมติฐานตามสมการ

Y = 0.123 + 0.115 (X1) + 0.243 (X2) ++ 0.179 (X3) + 0.409 (X4)+ + 0.260 (X5)

References

กัญระยา กตะศิลา และ เบญจพร โมกขะเวส (2565). “สมรรถนะของนักบัญชีที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานด้านระบบสารสนเทศ ทางการบัญชี ของผู้ประกอบการ SMEs ภาคบริการ ในเขตกรุงเทพมหานคร”. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. ปีที่8(ฉบับที่11)เลขหน้า 335-349.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (2566). ระบบคลังข้อมูลธุรกิจ. เข้าถึงได้จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนนทบุรี.สืบค้นจาก: https://datawarehouse.dbd.go.th/area/overview (สืบค้นวันที่ 3ตุลาคม 2566)

เกวลิน คำฟั่น (2562). อิทธิพลของคุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ที่มีผลต่อ ความสำเร็จในวิชาชีพของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานใน อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

จารุพร พฤกธารา, รัชนีภรณ์ คณะพูล, และ กาญจนา ผลาผล . (2565). “สมรรถนะของนักวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพสำนักงานบัญชีจังหวัดระยอง”. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน, ปีที่4(ฉบับที่3).เลขหน้า 149-163.

จิตติมา ขำดำ, สุพิศ ฤทธิ์แก้ว, และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ . (2559). “ความรู้ความสามารถของนักบัญชีและความเข้าใจในมาตรฐาน การจัดทำบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อประสิทธิภาพงานบัญชีของสำนักงานอัยการสูงสุด” วารสารนักบริหาร . ปีที่39(ฉบับที่2). เลขหน้า 55-65.

ชุมพล รอดแจ่ม, และรุ่งระวี มังสิงห์ (2562). “การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะของนักบัญชีตาม คุณลักษณะนักบัญชีที่พึงประสงค์”วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.ปีที่5(ฉบับที่1). เลขหน้า 29-44

ฐิติรัตน์ มีมาก, รติกร บุญสวาท และ ชุติมา ขลิบทอง (2559) “ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณและทักษะทางวิชาชีพกับประสิทธิภาพการทำงาน ของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีจังหวัดนครราชสีมา”. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 7, (หน้า 653-664)

ณัชชา อาแล, และ ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2561). “ทักษะทางวิชาชีพ ด้านความชำนาญในการปฏิบัติงานและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางบัญชีส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรทางบัญชีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคใต้”. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี .ปีที่8(ฉบับที่16). เลขหน้า12-19

ณัฏฐ์รมณ ศรีสุข. (2560) สมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ที่มีผลต่อความสําเร็จในการปฏิบัติงาน ของผ้ทําบัญชีในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศรีปทุม: บัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี.

ตวงพร ทวีรักษ์. (2560). อิทธิพลของคุณภาพชีวิตการทำงาน แรงจูงใจในการทำงาน และความพึงพอใจในการทำงานต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพมหานคร.

ปวีณา คำพุกกะ. (2557). วิจัยธุรกิจ. อุบลราชธานี. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา, สุจิตรา ตุลยาเดชานนท์,จักรพันธ์ พงษ์เภตรา และ อมรรัตน์ อัศวเกษมสุข. (2566). “จรรยาบรรณวิชาชีพกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชี ในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี”. การประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ เบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 13. (หน้า 1-17) กรุงเทพมหานคร.

พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา, และ วิชิต อู่อ้น.(2561). “ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อคุณภาพของรายงานทางการเงินและประสิทธิภาพการตัดสินใจของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทางเลือกเพื่อการลงทุน (เอ็ม เอ ไอ)” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, ปีที่4(ฉบับที่3). เลขหน้า59-74.

มณีวรรณ ศรีปาน. (2564). สมรรถนะนักบัญชีที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของสถานประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2546).พื้นฐานการวิจัย(ฉบับปรับปรุงใหม่).พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ :สุวีริยาสาส์น.

รุ่งรัศมี รัชสมบัติ และ กัญญาณัฐ รัตนประภาธรรม. (2565). “สมรรถนะทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของนักวิชาการเงินและบัญชี”วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.ปีที่4(ฉบับที่1). เลขหน้า13-27.

วารุณี ฤทธิขจร. (2564). สมรรถนะทางวิชาชีพบัญชีและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี กรมการเงินทหารอากาศ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. เรื่องประกาศกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องคุณสมบัติผู้จัดทำบัญชี.https://www.tfac.or.th/upload/9414/XWvJhbj2kV.pdf (สืบค้นวันที่3ตุลาคม 2566)

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). เรื่อง พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547: https://www.tfac.or.th/Article/Detail/66888 (สืบค้นวันที่ 7ธันวาคม 2565)

Bollen, K. A. (1989) Structural Equations with Latent Variables. North Carolina: John Wiley & Sons, Inc.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

Gattiker, U. E., & Larwood, L. (1986). “Subjective career success: A study of managers and support personnel”. Journal of Business and Psychology, 1(2), 78-94. doi:10.1007/BF01018805

Yamane, & Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30

How to Cite

สิทธิพัฒนา พ. . (2024). สมรรถนะวิชาชีพบัญชีที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในอาชีพของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(2), 207–223. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/273003