การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชุมชนสมบูรณ์พูนสุข จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ แก่นทรัพย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • กาญจนมาโนชญ์ ขุนกอง หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหารแบบมีส่วนร่วม , ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)ใช้วิธีวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง ได้แก่ พระสงฆ์ ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น แกนนำเครือข่ายและผู้ลงนามงดเหล้าเข้าพรรษาในชุมชนสมบูรณ์พูนสุข (นามสมมติ) จังหวัดลพบุรี ที่มีความประสงค์ลงนามงดเหล้าเข้าพรรษา จำนวน 33 คน ในปี พ.ศ.2564 และผู้ที่มีความประสงค์ลงนามงดเหล้าเข้าพรรษา ปี พ.ศ. 2565 จำนวน 99 คน

ผลการศึกษาพบว่า

1. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีองค์ประกอบ 6 ประการ ได้แก่ 1) เป้าหมายชัดเจน 2) สร้างความเชื่อมั่น 3) เสริมแรงกำลังใจ 4) สร้างงานสร้างอาชีพ 5) วิเคราะห์ตนเอง และ 6) มีภาวะผู้นำ

2. ผลการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือ ระดับบุคคล ผู้ที่ลงนามงดเหล้าเข้าพรรษา มีความเข้าใจตนเองและรู้จักตนเอง วิเคราะห์ตนเองได้ มีความรักตนเองและเห็นคุณค่าในตนเอง ในระดับครอบครัว มีความพึงพอใจมาก ได้ความรัก ความอบอุ่นในครอบครัวคืนมา มีสัมพันธภาพที่ดี มีเงินออมและมีความสุขในครอบครัว และระดับชุมชน มีความรับผิดชอบ สามัคคี เสียสละและเป็นชุมชนต้นแบบที่เข้มแข็งเป็นแหล่งศึกษาดูงาน

References

กานต์นะรัตน์ จรามร, นันทวดี เนียมนุ้ย, และไพโรจน์ เสาน่วม. (2560). กรณีศึกษา: การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 11(2), 268-276.

จิรัชยา บุญปัญญา, และนาถ พันธุมนาวิน. (2557). กลไกการป้องกันตนเองจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 40(1), 128-146.

จิราลักษณ์ นนทารักษ์. (2564). แนวโน้มสถานการณ์การเจ็บป่วยและเสียชีวิตอันมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย ปี 2558-2562. ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

เฉลิมเกียรติ จอมแก้ว. (2561). การพัฒนากลยุทธ์ในการขับเคลื่อนงานรณรงค์ลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของเครือข่ายประชาคมงดเหล้าภาคตะวันออก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 38(3), 1-16.

ธีระวุธ ธรรมกุล. (2559). การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนนักศึกษาบริเวณรอบสถานศึกษาเขตเมือง. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 14(2), 89-100.

ดรุณี คุณวัฒนา, ศรีวรรณ ยอดนิล, และสมหมาย แจ่มกระจ่าง. (2560). พฤติกรรมและการป้องกันการติดสุราของสตรี. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม. 13(1), 291-305.

บัญญัติ อนนท์จารย์, และกัลยาวีร์ อนนท์จารย์. (2563). การลดพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เชิงพุทธบูรณาการ. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.12(2), 14-24.

พระสาคร จิตธมโม (โปธิ). (2562). รูปแบบและวิธีการลด ละ เลิกการดื่มสุราของพระครูวิวิธประชานุกูล เจ้าอาวาสวัดหัวริน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุจิตรา ยะวร, และชยพล ยะวร. (2566). การพัฒนารูปแบบการบำบัดผู้ติดสุราที่มีภาวะซึมเศร้าด้วยกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยครอบครัวบำบัดและการสเริมสร้างแรงจูงใจ อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 20(1), 12-27.

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2557). รายงานการประเมินผลการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ปี 2557 ภาคกลาง (รวมกรุงเทพฯและปริมณฑล). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2565). แบบแผนและแนวโน้มพฤติกรรมการดื่มสุราของประชากรไทย. คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สมพงษ์ จันทร์ขอนแก่น. (2560). การพัฒนารูปแบบการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี กรณีศึกษา : อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 24(3), 30-41.

สมโภช อเนกสุข. (2548). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 3(1), 18-31.

สันติ ฤาไชย. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูสมรรถภาพนักเรียนในโรงเรียนศรีสังวาลย์ขอนแก่น. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). ข่าวสภาพัฒน์ สืบค้น สิงหาคม 13, 2566. จาก https:// www.nesdc.go.th

อนันญา ดีปานา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของพนักงานห้างสรรพสินค้าในจังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์, และพิมพิมล วงศ์ไชย. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : ลักษณะสำคัญและการประยุกต์ใช้ในชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 36(6), 192-202.

อุทัยทิพย์ เจี่ยวิวรรธน์กุล. (2553). การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม : แนวคิด หลักการและบทเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2 : บริษัทพี.เอ.ลีฟวิ่ง. จำกัด.

World Health Organization. (2018). Global status report on alcohol and health 2018. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite