การพยากรณ์ยอดขายและการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดวางวัตถุดิบ กรณีศึกษา บริษัท ไทพลาส รีไซเคิล จำกัด

ผู้แต่ง

  • เรน่า กาญจนกัญญา นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • นันทิ สุทธิการนฤนัย สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • สราวุธ จันทร์ผง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ปิยะเนตร นาคสีดี สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ศิรินธร เอี๊ยบศิริเมธี สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

วัตถุดิบ, พลาสติก, แบบจำลองพยากรณ์, วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่, วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเลือกรูปแบบการพยากรณ์ยอดขายเพื่อให้ทราบถึงแผนการผลิต 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการพื้นที่การเก็บวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   3) เพื่อลดเวลาในการหาวัตถุดิบ 4) เพื่อลดจำนวนวัตถุดิบที่เสียหาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ PP ดำบด, PP ขาวบด, แม่สีขาวบด, PP ดำเม็ด, PP ขาวเม็ด, แม่สีขาวเม็ด เนื่องจากเป็นวัตถุดิบทที่มียอดขายสูงที่สุด

ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุดคือ วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average) เนื่องจากเป็นวิธีที่มีค่าความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุด เพื่อหาวิธีการพยากรณ์จำนวนวัตถุดิบที่เหมาะสมเพื่อนำไปวางแผนการจัดพื้นที่การวางวัตถุดิบและปรับปรุงกระบวนการในการเบิกจ่ายวัตถุดิบให้เป็นไปตามแบบ FIFO ร่วมกับแนวคิด ECRS โดยใช้หลักการการทำให้ง่ายขึ้น (Simplify) เพื่อพิจารณาขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่มีประสิทธิภาพระยะทางก่อนปรับปรุงใช้ระยะทาง 1,270 เมตร และหลังปรับปรุงใช้ระยะทาง 410 เมตร ทำให้ระยะทางลดลง 860 เมตร หรือคิดเป็น 32.28 % และทำให้ระยะเวลาลดลง 21 นาที หรือคิดเป็น 5.02 % และพบว่าหลังจากการปรับปรุงรูปแบบการวางผังจัดเก็บวัตถุดิบแล้ว จากเดิมมีวัตถุดิบที่เสียหายจำนวน 64,389 กิโลกรัม หลังจากปรับปรุงแล้วทำให้ไม่มีจำนวนวัตถุดิบที่เสียหาย

References

กุสุมา ไชยโชติ. (2559). การลดระยะเวลาการเติมสินค้าหน้าชั้นวางโดยใช้ระบบคัมบัง กรณีศึกษาธุรกิจค้าปลีก. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เจนรตชา แสงจันทร์. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าโดยประยุกต์ใช้วิธีการจัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้ กรณีศึกษา บริษัท แห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมการพิมพ์. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ณรงค์ ไกรษรศิริ. (2564). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการงานคลังวัสดุบรรจุ: กรณีศึกษา บริษัทผลิตและจาหน่ายบรรจุภัณฑ์แก้ว. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธัญภัส เมืองปัน. (2563). การจัดการการจัดหาในโซ่อุปทาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ : แดแน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ธารชุดา พันธ์นิกุล ดวงพร สังฆะมณี และปรีดาภรณ์ งามสง่า. (2557). “การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตด้วยเครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหการ กรณีศึกษา: โรงงานประกอบรถจักรยาน” การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2557 วันที่ 30-31 ตุลาคม 2557. 227-334.

นิภา นิรุตติกุล. (2558). การพยากรณ์การขาย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรรณะ กรุดภู่ และรภัทภร สลิดกุล. (2560). การศึกษาแนวทางการลดความผิดพลาดในการส่งมอบสินค้า กรณีศึกษา : โรงงานอาหารสัตว์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วรัญญา สาสมจิตต์. (2559). การศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังวัตถุดิบ. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิรัตน์ แจ้งรักษ์สกุล ผ่องใส เพ็ชรรักษ์ และสิทธิโชค เจริญกิจ. (2564). “การพยากรณ์ความต้องการ: กรณีศึกษาบริษัทผลิตขวดน้ำดื่ม” วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 3(6). 45-58.

อติกานต์ ม่วงเงิน. (2562). การประยุกต์ใช้เทคนิคแบบลีน (ECRS+IT) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานระบบตู้รับคืนหนังสืออัตโนมัติ. กรุงเทพ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อรณิชา บุตรพรหม. (2561). “FIFO เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า กรณีศึกษาบริษัทชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง” วารสารบริหารและจัดการ. 8(1). 137-156.

อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา. (2560). เอกสารประกอบการสอนการศึกษางานอุตสาหกรรม (Industrial Work Study). บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Armstrong, Scott, J. (1983). Strategic Planning and Forecasting Fundamentals. New York : McGrawHill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

กาญจนกัญญา เ. ., สุทธิการนฤนัย น., จันทร์ผง ส., นาคสีดี ป. ., & เอี๊ยบศิริเมธี ศ. . (2024). การพยากรณ์ยอดขายและการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดวางวัตถุดิบ กรณีศึกษา บริษัท ไทพลาส รีไซเคิล จำกัด. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(1), 23–39. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271630