การมีส่วนร่วมของประชาชนและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ธนาวุฒิ บุญญานุสนธิ์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ภมร ขันธะหัตถ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนิศร ยืนยง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน , ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง , การพัฒนาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ (2) เพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของประชาชนและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ เป็นวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์

          ผลการศึกษาพบว่า

  1. ระดับการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย การส่งเสริมการสร้างศักยภาพคนสู่การพัฒนาจังหวัดที่ยั่งยืน การส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจฐานรากตามหลักศาสตร์พระราชาสู่การแข่งขันอย่างยั่งยืน และ การส่งเสริมการพัฒนาสังคมสู่การเป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยและเมืองแห่งการพักผ่อน ตามลำดับ
  2. การมีส่วนร่วมของประชาชนและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล การเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานให้ผู้อื่น และการเป็นต้นแบบนำทาง ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. แนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อการกำหนดความต้องการเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายเพื่อประชาชน ทั้งส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาศักยภาพผู้นำที่เป็นผู้นำทางที่ดี เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิต่อไป

References

จตุพร สังขวรรณ. (2557). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด (มหาชน).

ธนกฤต โพธิ์เงิน.(2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ TCI (ฐาน1) ปีที่ 5 ฉบับ10 (ตุลาคม 2563) หน้า 193-207.

ณรงค์ ปิติปุญญพัฒน์. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลต้นหมื้อ อำเภอมาย จังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงราย.

ธงชัย สันติวงษ์. (2550) .การบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

เบญจรงค์ แสงนาค. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาและงบประมาณโดยใช้ทุนทางสังคมเป็นฐาน กรณีศึกษา: เทศบาลนครสมุทรสาคร. มหาวิทยาลัยมหิดลนครปฐม.

พระมหาสมศักดิ์ ธีรวํโส (แหวนคำ). (2562). กระบวนการพัฒนาชุมชนเมืองและชนบทสู่ความยั่งยืน ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิเชษฐ์ ภู่เฉลิมตระกูล. (2561). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ.

วาริณี เสาวภา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฝาย อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพิษณุโลก, พิษณุโลก.

วสันต์ จันทจร. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองจิก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ. วิทยาลัยการเมืองการ ปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ. (ออนไลน์). แผนพัฒนาจังหวัดชัยภูมิ พ.ศ.2561-2565 ฉบับทบทวน. งานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดชัยภูมิ. สืบค้นจากhttps://www.chaiyaphum.go.th/page_other/Plan_cyp2561-2564.php วันที่สืบค้น 15 มกราคม 2566

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2564).ข้อมูลสถิติจังหวัดชัยภมิ. สืบค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx/เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566

สันติศักดิ์ กองสุทธิ์ใจ. (2560). การพัฒนาเมืองน่าอยู่โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม: เทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2560).

สุธี ศรสวรรค์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของมุสลิม : ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลคลองตะเคียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ภาคนิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพัฒนาสังคม, คณะพัฒนาสังคม สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Developments.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Heim.C.Z. (1968). The Economics of Co-operative Enterprise. London : University of London Press.

Johnson, H. J. A. (2002). Conceptual Model for Enhancing Community Competitiveness.

Kouzes, J. & Posner. B. (1995). The Leadership Challenge: How to Keep Extraordinary Things Done in Organization. San FranciscoCA: Jossey – Bass

Im, Sangham. (2001). Bureaucratic Power, Democracy and Administrative Democracy. Aldershot: AshgatePublishing Company, 2001.

Roderick Bell, David V. Edwards, R. Harrison Wagner.(1969). Political Power A Reader in Theory and Research.Book (01 Jan 1969)

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third Edition. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

บุญญานุสนธิ์ ธ. ., ขันธะหัตถ์ ภ. ., & ยืนยง ธ. . (2024). การมีส่วนร่วมของประชาชนและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(1), 112–127. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271544