ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดวิเคราะห์ของ นักศึกษาปริญญาตรี รายวิชา การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ผู้แต่ง

  • มีสิทธิ์ ชัยมณี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • นุชรัตน์ นุชประยูร สาขาวิชาระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

การจัดการเรียน, การใช้ปัญหาเป็นฐาน, การคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาปริญญาตรี รายวิชา การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาปริญญาตรี รายวิชา การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาปริญญาตรี รายวิชา การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชา การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาปริญญาตรี รายวิชา การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.14/76.96 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75
  2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนของผู้เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาปริญญาตรี รายวิชา การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
  3. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.02, S.D.= 0.69)

References

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) รายวิชา การออกแบบและพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(2),179-192.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). ความคิดสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา.(2562). รายงานเฉพาะเรื่องที่ 12 หลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการ คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฎิรูปการศึกษา.

ฤดีรัตน์ แป้งหอม สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์ และสฎายุ ธีระวณิชตระกูล. (2559). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(4),278-293.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วน. จำกัด 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

ชัยมณี ม. ., & นุชประยูร น. (2024). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดวิเคราะห์ของ นักศึกษาปริญญาตรี รายวิชา การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(1), 54–65. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/270900