การพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน ในจังหวัดนนทบุรี
Community Strength Development in Nonthaburi Province
คำสำคัญ:
การพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน , การมีส่วนร่วมของประชาชน , หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน ในจังหวัดนนทบุรี การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความเข้มแข็งของชุมชน ในจังหวัดนนทบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาชุมชน การมีส่วนร่วมของประชาชน และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน ในจังหวัดนนทบุรี และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดนนทบุรี เป็นวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรคือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและมีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คนเครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถาม และกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์
ผลการศึกษาพบว่า
1. ความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านการส่งเสริมการรวมตัวกันของคนในชุมชนทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ของชุมชน รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดการองค์ความรู้และระบบการเรียนรู้ของชุมชนอย่างครบวงจร และด้านการสร้างภูมิคุ้มกันชุมชน มีการให้ความสำคัญและแนวทางการดำเนินการ ตามลำดับ
2. การพัฒนาชุมชน การมีส่วนร่วมของประชาชน และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการมีคุณธรรม การมีเหตุผล พัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การมีภูมิคุ้มกันที่ดี การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ พัฒนา ส่งเสริม และอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญา ท้องถิ่นอันดีงาม การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน พัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์และสังคมให้ก้าวหน้า ปลอดภัยและยั่งยืน และการมีความรู้ความเข้าใจ ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน ในจังหวัดนนทบุรี มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. การพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดนนทบุรีคือ ส่งเสริมให้มีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต อย่างถูกต้อง สามารถพึ่งพาตนเองดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายให้พอเพียง พอกิน และพอใช้ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน มีการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน ให้ปฏิบัติตามและสามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิต เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
References
กรมการปกครอง.(ออนไลน์).การบริหารข้อมูล. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นจาก https://www.dopa.go.th/public_service/service1
พรรณี โลกลินไลน์. (2553).บทบาทองค์การบริหารส่วนตำบลตากล้า ต่อการพัฒนาชุมชนในเขตตำบลตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พัชนี ตูเล๊ะ.(2561).ปัจจัยที่ส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดนราธิวาส.มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ,11(2),3560-3575
ประเวศน์ มหารัตน์สกุลและคณะ. (2564). รูปแบบการพัฒนาชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ,6(4)
ปรีชา กลิ่นรัตน์. (2553). การบริหารพลศึกษาและการจัดการธุรกิจกีฬา.พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น.
วสันต์ จันทรจรและสิทธิชัย ตันศรีสกุล. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองจิก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วัชรินทร์ อินทพรหม. (2557). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(3).
วิทยา จันทร์แดง และจำนง อดิวัฒนสุทธิ์ . (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน. วารสารสักทอง,18(2), 31-40.
มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ.(2555).พระสืบสานแนวพระราชดำริ แนวคิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พ.ศ. 2555. สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลัง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(ออนไลน์). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 - 2554).
สำนักบริหารงานทะเบียน.(ออนไลน์). รายงานจำนวนประชากร.กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2564 สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php
Cohen, John M. and Uphoff, Norman T. (1977). Rural Participation: Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. In Rural
Cohen & Uphoff. (1981). Effective Behavior in Organizations. New York: Richard D. Irwin Inc.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.
Dunham, A. (1985). Community Welfare Organization:Principles and Practice. New York:Thomas Y, Crowell Company.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์