การพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี
Local development in Pathum Thani Province
คำสำคัญ:
ทุนทางสังคม , การมีส่วนร่วมของประชาชน , การบริหารจัดการ , การพัฒนาท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดปทุมธานี (2) เพื่อวิเคราะห์ทุนทางสังคม การมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี เป็นวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์
ผลการศึกษาพบว่า
1. การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ในจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านสร้างสรรค์ชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้ ด้านส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้ขยายตัว ด้านเสริมสร้างทุนชุมชนให้มีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล และด้านเสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง ตามลำดับ
2. ทุนทางสังคมในด้านทุนมนุษย์และทุนภูมิปัญยาและวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์และการบริหารจัดการด้านประสิทธิผลส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. แนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี ควรมีการส่งเสริมให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีสมรรถนะสูง เพื่อนำไปพัฒนาองค์กรและท้องถิ่นโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ และขับเคลื่อนนโยบายของภาครัฐในการพัฒนาท้องถิ่นต่อไป
References
จินตนา สุจจานนท์. (2554).การศึกษาตลอดจนชีวิตและการพัฒนาชุมชน.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
วรานิษฐ์ ลําไย. (2557).การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตําบลเพื่อพัฒนาชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันตก.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนศึกษา.มหาวิทยาลัยศิลปากร
วัชรินทร์ อินทพรหม. (2557, กันยายน-ธันวาคม). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(3).
ยุทธนา กาเด็ม. (2562, สิงหาคม). การพัฒนาชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามหลักการขององค์การสหประชาชาติ(UN). บทความวิชาการ, วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ปราณี จันทร์ส่ง และคณะ. (2559). ศึกษาเรื่องการพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง.วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,10(3),273-283
สำนักบริหารงานทะเบียน.(ออนไลน์). รายงานจำนวนประชากร.กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2564 สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php
องค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดปทุมธานี.(ออนไลน์).แผนพัฒนาท้องถิ่น.สืบค้นจาก kdhttps://pathumpao.go.th/public/list/data/showdetail/id//menu/1196/searchdata/search/keysearch/
Aldridge, Stephen, David Halpern, and Sarah Fitzpatrick. (2002). Social Capital: A Discussion Paper. London, England: Performance and Innovation Unit.
Cronbach, L. J. (1970).Essentials of Psychological Test.(5thed.).New York: Harper Collins.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Effective Behavior in Organizations. New York: Richard D. Irwin Inc.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation Place in Rural Development: Seeking Clarity through Specificity. World Development, 8.
Dunham, Arthur. (1958). Community Welfare Organization. New York: Thomas Y Crowell.
Campbell, A. (1976). Subjective measures of well-being. American Psychologist. 31, 117- 124
Narayan, D. and Pritchett, L. (1999). Cents and Sociability: Household Income and Social Capital in Rural Tanzania. Economic Development and Cultural Change, 47(4).
Putnam, Robert D. (1993). Making Democracy Work: Civic Traditions in Modern Italy. Princeton: Princeton University Press.
Sapauppatam, N. (2015). Theory and Principle of Community Development. Chanthaburi: Rambhai Barni Rajabhat University. (in Thai).
Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2000). Consumer Behavior. (7th ed.). Upper Saddle River, N.J Prentice Hall.
Sonwa, S. (2018). Human Resources Development in the Fifth Dimension. Journal of Yala Rajabhat University, 13(3), 503-505.
Streeten, Paul. (1972). The Frontiers of Development Studies. London: Mac Millan.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Harper and Row Publications.
Wasee, P. (1999). Sufficiency Economy and Civil Society. Bangkok: Pimdee Publications. [in Thai].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์