การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้นิทานส่งเสริมการอ่านร่วมกับเทคนิคการสอน แบบ SQ3R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

The development of English reading by using fairy tales to promote reading in conjunction with SQ3R teaching techniques for grade 5 students

ผู้แต่ง

  • วิรัลพัชร์ แป้นเชื้อ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาลทับกวาง

คำสำคัญ:

การพัฒนา , การอ่านภาษาอังกฤษ , นิทานส่งเสริมการอ่าน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับนิทานส่งเสริมการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชา ภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับนิทานส่งเสริมการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี จำนวน 23 คน ได้มาจากการจับสลาก เลือกห้องเรียนมา 1 ห้องเรียนสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้ นิทานส่งเสริมการอ่านร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SQ3R จำนวน 18 แผน 2) แบบทดสอบวัด ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย จำนวน 30 ข้อ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับนิทานส่งเสริมการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t-test

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน โดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับนิทานส่งเสริมการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดกิจกรรม การเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้ เทคนิค SQ3Rร่วมกับนิทานส่งเสริมการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

กรมวิชาการ. (2554). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2554. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

-------------. (2551) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

-------------. (2551) สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

คันธารัตน์ อยู่สะอาด. (2559). การศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้นิทานที่มีผลต่อความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์.

นิภา วงษ์สุรภินันท์ และคณะครู. (2549). นิทานสร้าง (2554รรค์คุณธรรมของนักเรียนระดับช่วงชั้น ที่ 1 – ระดับช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนบ้านผึ้ง. ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2549. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษานครพนม เขต 1. นครพนม.

มนัสสา ลัทธิวาจา. (2551). รายงานผลการใช้นิทานอีสปเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. โรงเรียนบ้านอำปึล. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3.

ปทิตตา สัตตภูธร. (2562). ผลของการใช้เทคนิคการสอนอ่าน SQ3R ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

พรรณิการ์ สมัคร. (2557). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้านการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์. (2564). การพัฒนาชุดการสอนแบบ Active Learning โดยใช้ทคนิค SQ3R เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 32(1), 77-88.

วันเพ็ญ วัฒฐานะ. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R เพื่อพัฒนา ความเข้าใจในการอ่านและศึกษาพฤติกรรมการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัชราภรณ์ แสงพันธ์. (2553). การพัฒนากิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้นิทานอีสป ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กลุ่มสาระ ฯ : ภาษาต่างประเทศ.

วิรรธน์ จันทร์เทพย์. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้เป็นทีม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์: มหาวทิยาลยัหมู่บา้นจอมบึง.

ศุภนิช มั่งมีศรี. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้นิทานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์.

สมเกียรติ อ่อนวิมล. (2555). บันทึกหน้าแรกของอาเซียน. นิตยสารคู่สร้างคู่สม, 33(747-749 (มิ.ย. 55) ), 16-17.

สมปอง หลอมประโคน. (2544). การใช้กิจกรรมการเล่านิทานเพื่อส่งเสริมทักษะการฟัง พูดภาษาอังกฤษและความคงทนในการเรียนรู้คําศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5. วิทยานิพนธิ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ ตาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สำนักกระทรวงศึกษาธิการ สภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2548). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองชุดที่ 8 โครงการหนึ่งอําเภอหนึ่ีงโรงเรียนในฝัน). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2531). คู่มือผู้บริหารโรงเรียนเอกชนการจัดทําแผนการศึกษาเอกชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2535). การจัดการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด.

สุมณฑา วงษ์สวัสดิ์. (2552). การใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมนนทรี กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์.,การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. เอกสาร แนวปฏิบัติ การวัดและประเมินผล การเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 4) พ.ศ. 2557. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Brown, A.L. and A.S. Palincsar. (1982). Inducing Strategies Learning from Texts by Means of Informed, Self-Control Training, Topics in Learning and Learning Disabilities. 2(1) : 1-17.

Kusumayanthi, S. & Maulidi, S.M. (2019). The implementation of SQ3R Technique in teaching reading comprehension. The Journal of English Language Teaching, Literature, and Applied Linguistics (JELA), 1(2), 74-80.

Mayer, B.J. (1975). Use of Top-Level Structure in Text: Key for Reading Comprehension of Ninth Students, Reading Research Quarterly. 16 : 72-103.

Robinson & Francis Pleasant. (1982). Effective Study (6 ed.). New York: Harper & Row.

Widiawati, T. et al. (2020). Improving the students’reading skill through SQ3R technique in MTS Al-Kheriyah. Journal of Language, Literature, and Linguistics, 1(1), 71-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite