การสร้างและพัฒนาฝายมีชีวิตด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม

The Building and Developing Living Weir with the process of participation Civil Society

ผู้แต่ง

  • เทวิน สมยาเย็น นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วินัย วีระวัฒนานนท์ อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • บุญเลิศ วงค์โพธิ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธัศษณพัฒน์ ปานพรม อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ฝายมีชีวิต , กระบวนการมีส่วนร่วม , ภาคประชาสังคม

บทคัดย่อ

          ปัญหาการขาดแคลนน้ำของชุมชนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้ชุมชนเกิดความตระหนัก และการมีส่วนร่วมของชุมชน การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ ความตระหนัก พฤติกรรมการมีส่วนร่วม และความพึงพอใจ ของภาคประชาสังคมต่อฝายมีชีวิต 2) ศึกษาความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและการใช้ประโยชน์จากฝายมีชีวิตในพื้นที่ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือบุคคลากรหน่วยงานภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ /ภาคเอกชน วัด/สำนักสงฆ์ และประชาชนในชุมชน จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามวัดความรู้ ความตระหนัก การมีส่วนร่วม และความพึงพอใจ รวมทั้งแบบสังเกตความยั่งยืนของระบบนิเวศ นำมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และนำข้อมูลเชิงคุณภาพมาจัดเป็นหมวดหมู่และบรรยายข้อมูลเชิงพรรณา

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. กลุ่มตัวอย่างมีความรู้อยู่ในระดับมาก ความตระหนักอยู่ในระดับมากที่สุด การมีส่วนร่วมต่อการสร้างและพัฒนาฝายมีชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง และมีความพึงพอใจต่อการสร้างและพัฒนาฝายมีชีวิต อยู่ในระดับมากที่สุด

          2. ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ จำแนกได้เป็น 4 มิติ ดังนี้ 1) มิติด้านสิ่งแวดล้อม มีลักษณะทางกายภาพของลำคลอง เหนือจุดที่สร้างฝายมีชีวิต มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น 2) มิติด้านระบบนิเวศน์ มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งชนิดของพืชพรรณไม้ สัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 3) มิติด้านเศรษฐกิจชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการมีน้ำในการอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร 4) มิติด้านสังคมและชุมชน กระบวนการฝายมีชีวิตทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและเครือข่ายงานด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ในประเด็นการใช้ประโยชน์จากฝายมีชีวิตในเชิงประจักษ์ พบว่า ชุมชนมีการนำน้ำไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ตลอดจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจและนันทนาการสำหรับชุมชน

References

กรมทรัพยากรน้ำ. (2559). รายงานการติดตามประเมินผลโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูพัฒนาแหล่งน้ำ.

กฤษฎา ข้องพูน. (2551). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของเกษตรกรในการบริหารจัดการน้ำชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมของฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโดมน้อย จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชลาทร ศรีตุลานนท์. (2546). ลักษณะการไหลของน้ำในลำธารหลังการสร้างฝายต้นน้ำที่ห้วยน้ำใสศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กลุ่มวิจัยต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

ณชพงศ์ จันจุฬา. (2552). การพัฒนาการมีส่วนนร่วมของประชาชนในการจัดการลุ่มน้ำสายบุรีกรณีศึกษาการจัดการน้ำแบบรัฐและแบบชาวบ้าน ในพื้นที่ตำบลกาเยาะมาดี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส. รายงานผลการวิจัย คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

เตชัส คงสุขกาญจนา. (2558). ผลกระทบของการจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ฝายมีชีวิตจังหวัดนครศรีธรรมราช. สารนิพนธ์ ภาควิชามานุษยวิทยา คณะศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไตรทิพย์ เศขรฤทธิ์. (2553). กระบวนการสร้างกลุ่มและการมีส่วนร่วมของกลุ่มในการสร้างฝายต้นน้ำลำธารกรณีศึกษาบ้านห้วยราชบุตร หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านเป้า อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ทศพล โฆษิตพล. (2554). ผลของฝายชะลอน้ำต่อความหลากหลายของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่สาหร่ายขนาดใหญ่และพืชพรรณริมฝั่งน้ำ. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประเสริฐศักดิ์ มั่งอะนะ. (2563). การสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อแก้วิกฤตขาดแคลนน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านหนองกองเหนือ ตำบลนาบ่อค้า อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม,5(3)

รจนา นิลมานนท์. (2554). กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการจัดการและพัฒนาแห่งน้ำ : กรณีศึกษาชุมชนบางปรอก ตำบลบางปรอด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุพรรษา สมโพธิ์. (2553). การจัดการความรู้ท้องถิ่นและเครือข่ายการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรน้ำด้วยระบบเหมืองฝายโดยกลุ่มผู้ใช้น้ำฝายวังไฮ ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อธิศ แสงอาทิตย์. (2552). การจัดการน้ำของชุมชนแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาบ้านสวนกล้วยตำบลกกทอง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

อรทัย มิ่งธิพล. (2556). ผลสำเร็จของการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ด้วยฝายชะลอน้ำ เพื่อพัฒนาระบบนิเวศป่าไม้และลำธาร ในพื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืช ลุ่มน้ำเชิงเขาห้วยโจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

World Resources Institute. (2019) . Seeing the Unseen: The Value of Water. (ออนไลน์) สืบค้นจากhttps://landing.restor.eco. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite