การศึกษาระบบการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บัญชีในหน่วยงานกรมทางหลวง
A Study of the Internal Control System Affecting the Performance of Accountant in the Central Department of Highway
คำสำคัญ:
ระบบการควบคุมภายใน, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, เจ้าหน้าที่บัญชีบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระบบการควบคุมภายใน 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และ 3) เพื่อศึกษาระบบการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บัญชีในหน่วยงานกรมทางหลวง กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีและการเงินในหน่วยงานกรมทางหลวง จำนวน 303 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แบบพหุถดถอย
ผลการศึกษาพบว่า
1. ระบบการควบคุมภายใน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับแรก โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม ด้านกิจกรรมควบคุม และด้านการประเมินความเสี่ยง โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
2. ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การควบคุมคุณภาพรายงานทางบัญชี มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับแรก โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการบัญชี และด้านการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการบัญชี โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
3. ระบบการควบคุมภายในส่งผลทางบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บัญชีในหน่วยงานกรมทางหลวง โดยระบบการควบคุมภายในด้านการติดตามและประเมินผล ถือว่าเป็นการดำเนินการที่ควบคุมดูแลให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บัญชีเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักการบัญชี และทำให้ระบบการควบคุมภายในถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด จึงเห็นได้ว่าการมีระบบการควบคุมภายในที่ดีจะส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดีขึ้นตามไปด้วย
References
กรมทางหลวง. (2564). ข้อมูลพนักงาน. กรุงเทพฯ : สำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวง.
กรมบัญชีกลาง. (2560). แนวปฏิบัติการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลาง.
กุสุมา โสเขียว. (2559). ผลกระทบของประสิทธิภาพการควบคุมภายในและสภาพแวดล้อมธุรกิจที่มีต่อคุณภาพข้อมูลทางการบัญชี. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชลอ เหรียญประดับ. (2557). แนวทางการควบคุมภายในของธุรกิจอุตสาหกรรมที่จะทดเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2559). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : วี.อินเตอร์พริ้นท์.
นพวรรณ ฟูติตระกูล. (2558). การเปรียบเทียบแนวคิดด้านการควบคุมภายในของ COSO และ ระบบการควบคุมภายในของธนาคารออมสิน. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อมรเทพ ขอสูงเนิน. (2557). ความคิดเห็นของพนักงานบัญชีที่มีต่อความสำคัญกับระบบการควบคุมภายในทางการบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อมรรัตน์ โคบุตร์. (2564). ปัจจัยการควบคุมภายในที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในของสํานักงานสรรพากรภาค 1 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(1) : 396-411
Amudo, A. and Inanga , E. L. (2009). Evaluation of Internal Control Systems: A Case Study from Uganda. International Research Journal of Finance and Economics. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication
The Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission: COSO. (2013). กรอบแนวคิดระบบควบคุมภายในเพื่อประยุกต์ใช้กับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://op.mahidol.ac.th/ia/wp-content/uploads/2017 /08/02COSO-2013_Suwanna_042017.pdf 5 มีนาคม 2564.
Shabri , S. B. (2013). The Effects of Internal Control Systems on Cooperative’s Profitability: A Case of Koperasi ABC Berhad. International Review of Management and Marketing. Retrieved from https://www.econjournals.com /index.php/irmm/article
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์