การจัดทำหลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (OBE) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
Implementing an Outcome-based Education (OBE) Curriculum in the Faculty of Education at Vongchavalitkul University
คำสำคัญ:
หลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน, การจัดการความรู้ในการจัดทำหลักสูตร, กระบวนการจัดทำหลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้เป็นบทความเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรที่มุ่งผลหลักการเรียนรู้ของผู้เรียน (OBE) ของสถาบันอุดมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดทำหลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้การจัดการความรู้เป็นแนวทางในการแสวงหาและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตร เริ่มจาก 1) การกำหนดสิ่งที่อยากเรียนรู้ คือ ความรู้ในการจัดทำหลักสูตร 2) การแสวงหาความรู้ที่ต้องการ ทั้งจากภายในและจากภายนอก ด้วยวิธีการที่หลากหลาย 3) การปรับปรุงและสร้างองค์ความรู้ให้เหมาะสมเกี่ยวกับการใช้งานในการจัดทำหลักสูตรให้เป็นระบบ 4) การประมวลความรู้และกลั่นกรองความรู้ 5) การนำประสบการณ์จากการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเข้าถึงความรู้ได้ง่าย 6) การบันทึกเป็นองค์ความรู้และปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อนำไปใช้งาน มีการแบ่งปันและเผยแพร่ความรู้ 7) การทำให้การเรียนรู้ในการจัดทำหลักสูตรมุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่งของงาน เกิดการเรียนรู้ ปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้นจากการปฏิบัติงาน
ผลการศึกษาสรุปได้ว่า กระบวนการจัดทำหลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ได้ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้มีส่วนได้เสีย 2) การกำหนดระดับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) และผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs) 3) การออกแบบหลักสูตรกำหนดเนื้อหาโครงสร้างของรายวิชา (CLOs) 4) การจัดทำผลการเรียนรู้ระดับบทเรียน (LLOs) ของแต่ละวิชาและผลการเรียนรู้รายชั้นปี (YLOs) 5) การจัดทำแนวทางการประเมินคุณภาพผู้เรียน 6) การเข้าสู่กระบวนการพิพากษ์หลักสูตร 7) การเข้าสู่กระบวนการของกรรมการวิชาการและสภามหาวิทยาลัย 8) กระบวนการรับรองหลักสูตรจากต้นสังกัดและสภาวิชาชีพ 9) การนำหลักสูตรไปใช้ 10) การประเมินการใช้หลักสูตรการวิจัยเพื่อปรับปรุงหลักสูตร
References
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2565). KM การทำหลักสูตรตามแนวทาง OBE. https://www.sci.nu.ac.th/website/file/km63/1.%20
งานประกันคุณภาพ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. (มมป.) .เอกสารคู่มือการปฏิบัติงานแนวทางคู่มือประกันคุณภาพการศึกษา AUN-QA Version 4.
งานประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. (2563). เอกสารประกอบการชี้แจงแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ AUN-QA.
ฐิติมา ญาณะวงษา, สมเกียรติ อินทสิงห์, สุนีย์ เงินยวง และน้ำผึ้ง อินทะเนตร. (2564). หลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์: แนวทางใหม่สำหรับหลักสูตรอุดมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(2), 279-291.
ปฏิภาณ กิตตินันทวัฒน์. (2565). การเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาภายใต้รูปแบบความปกติใหม่. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์ 9(2), 13-23.
เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 169-176.
วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2564). การพัฒนาหลักสูตรจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เศรษฐิยา เปรื่องพิชญาธร และพวงเพ็ญ อินทรประวัติ. (2566) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกสอนโดยใช้การปฏิบัติการสะท้อนคิด. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์ 10(1), 1-13.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2549). คู่มือการสร้างกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้. http://kmi.or.th
อดิศร ศิริ, นภาพร ธัญญา, สุภาพร แพรวพนิต และจริยา ภูเสตวงษ์. (2566) การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์ 10(1), 141-152.
อัญชลี ไสยวรรณ. (2565). การพัฒนาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (OBE). เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
อุดม วงษ์สิงห์ และวิจารณ์ พานิช. (2564). หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ คือ ต้องมองนักเรียนเป็นสำคัญ. https://eef.or.th/article-07-02-21/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์