อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครอง ในจังหวัดสกลนคร

Influence of work Environment on work Efficiency of Government officials and Staff in the Department of Provincial Administration, Sakonnakhon Province

ผู้แต่ง

  • เจตนา สายศรี นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • สามารถ อัยกร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • จิตติ กิตติเลิศไพศาล รองศาสตราจารย์ ดร., สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

สภาพแวดล้อมในการทำงาน, ประสิทธิภาพในการทำงาน, อิทธิพล

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับสภาพแวดล้อมในการทำงาน และประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครองในพื้นที่จังหวัดสกลนคร (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครองในพื้นที่จังหวัดสกลนคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล และ (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครองในพื้นที่จังหวัดสกลนคร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครองในพื้นที่จังหวัดสกลนคร จำนวน 178 คน ซึ่งได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณหากลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. สภาพแวดล้อมในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครองในจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

          2. ประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครองในจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

          3. ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครองในจังหวัดสกลนคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          4. ตัวแปรที่มีอำนาจพยากรณ์ดีที่สุด คือ ด้านสัมพันธภาพ (X1) และ ด้านการคงไว้และการเปลี่ยนแปลงระบบงาน (X3) โดยมีสัมประสิทธิ์ถดถอยของการพยากรณ์ เท่ากับ 0.34 รองลงมา คือ ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การทำงาน (X2) โดยมีสัมประสิทธิ์ถดถอยของการพยากรณ์ เท่ากับ 0.22 ซึ่งตัวแปรทั้ง 3 ด้านนี้ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครองในจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 75 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±0.33047

              สามารถเขียนเป็นสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้

                  Y ′ = 0.83 + 0.31 X1 + 0.31 X3 + 0.20 X2

              และสามารถเขียนเป็นสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้

                  Z′Y = 0.34 ZX1 + 0.34 ZX3 + 0.22 ZX2   

References

กรมการปกครอง. (2563). ประวัติกรมการปกครอง. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง.

กองวิชาการและแผนงาน กรมการปกครอง. (2558). การจัดโครงสร้างส่วนราชการและการแบ่งงานภายในกรมการปกครอง. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง.

กลุ่มงานปกครอง ที่ทำการปกครองจังหวัดสกลนคร. (2563). เอกสารประกอบการประชุมที่ทำการปกครองจังหวัดสกลนคร ครั้งที่ 5/2563. สกลนคร: ที่ทำการปกครองจังหวัดสกลนคร.

ขวัญตา บาลโสง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับประสิทธิภาพการ ทำงานของบุคลากรกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนที่ 43(5) สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิพวรรณ เอี่ยมวงษา. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานกับความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบริษัท แอลซีบี คอร์ปอเรชั่น. วิทยานิพนธ์ รป.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรรณราย เล็กประเสริฐ และคณะ. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ พนักงานสายวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.

ลำไพ พรมชัย. (2561). ปัจจัยแรงจูงใจและบรรยากาศองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

นงชนก ผิวเกลี้ยง. (2556). ปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มี ความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรในสำนักงานประกันสังคม. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการทั่วไป). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณธัชพงศ์ พิสิษนุพงศ์. (2561). สภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความสัมพันธ์ต่อการสร้าง ความผูกพันองค์กรของข้าราชการและบุคลากร สำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง,1(1), 64-78.

ภูเบศร์ สมุทรจักร. (2552). Inspiration...พลังแห่งลมหายใจ ไฟในการทำงาน. วารสารเพื่อการเพิ่มผลผลิต, 14(79) : 20-23.

มณีรัตน์ ศรีคุ้ย. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรกับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ รป.ม. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

วรินทร์ จงมีสุข. (2561). ความพึงพอใจและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน) (กรุงศรี ออโต้) ภายหลังการรวมกิจการเข้ากับธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ บธ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

วาริพันธน์ สัญญาวิรัตน์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันองค์การกับ ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน บริษัท เรอินส์ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จํากัด. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิชชาภรณ์ เลิศสุบินรักษ์. (2561). ผลกระทบของความเป็นเลิศในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรการประปาส่วนภูมิภาคเขต 8. วิทยานิพนธ์ กจ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.

สามารถ อัยกร. (2563). อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 14(1) : 170-184.

สุพรรณี ทัพธานี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานบัญชีในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ บช.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุภัคพร ชลอเลิศ. (2560). ผลกระทบของการปฏิบัติการเชิงรุกที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรด้านการบัญชี การเงินและพัสดุ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ บช.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรญา เหง่าศิลา. (2562). การควบคุมภายในกับประสิทธิภาพการทำงาน. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

Moos, R. (1986). The human context environmental determinants of behavior. New York: John Wiley and Sons.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York:Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

How to Cite

สายศรี เ., อัยกร ส., & กิตติเลิศไพศาล จ. . (2023). อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครอง ในจังหวัดสกลนคร: Influence of work Environment on work Efficiency of Government officials and Staff in the Department of Provincial Administration, Sakonnakhon Province. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(2), 136–151. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/267780