การบริหารและการพัฒนาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดสระบุรี

Administration and Development Affecting the Life Quality of the Elderly in Saraburi Province

ผู้แต่ง

  • นัฐฐาพร โพธิ์รักษา นักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ภมร ขันธะหัตถ์ รองศาสตราจารย์ ดร., มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนิศร ยืนยง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การบริหาร , การพัฒนา , คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดสระบุรี  2) เพื่อวิเคราะห์การบริหารงานด้านผู้สูงอายุและการพัฒนาผู้สูงอายุที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดสระบุรี และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดสระบุรี เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากร คือ ผู้สูงอายุที่อายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์และมีสัญชาติไทย มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในเขตจังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถามเชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสระบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ตามลำดับ

          2. การบริหารและการพัฒนา ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ และด้านระบบบริการและเครือข่ายเกื้อหนุน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดสระบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05

          3. แนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้สูงอายุควรมีการวางแผนการบริหารและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ และสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น การครองชีพของผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

References

กรมการปกครอง.(2563).การบริหารข้อมูล. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย สืบค้นจาก https://www.dopa.go.th/public_service/service1

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2558). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL – BREF – THAI). สืบค้นออนไลน.ที่มา https://www.dmh.go.th.

กิจการผู้สูงอายุ.(2557).ประชากรสูงอายุไทย: ปัจจุบันและอนาคต.เอกสารประมวลสถิติด้านสังคม 1/2558 พฤศจิกายน 2557.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2555). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย (เล่ม 2 วัยรุ่น - วัยสูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 8 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2556). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2555.สนับสนุนโดยกองทุนผู้สูงอายุคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ทีคิว พี จํากัด.

ปลื้มใจ ไพจิตร. (2558). คุณภาพในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ, 2(2), หน้า 157-179.

สุทธิชัย จิตะพันธุ์กุล. (2544). ผู้สูงอายุหญิงในประเทศไทย สถานะในปัจจุบัน. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สนุพงษ์ จิรชวาลวิสุทธิ์. (2558). ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานของนายทหารประทวน ค่ายภาณุรังสีจังหวัดราชบุรี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2556).การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583. พิมพ์ครั้งที่ 1 โรงพิมพ์เดือนตุลา กุมภาพันธ์ 2556

สนั่น ชินวงศ์. (2565). การบริหารการพัฒนาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดสกลนคร: Administration of Development Affected the Life Quality of Elderly in Sakon Nakhon Province. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขา มนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์, 16(1), 387-401.

อัญนรีนัช โสภณเจริญทัศน์. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตำบลบ้านป่า อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Dijksterhuis, A., Nordgren, L. F., and Bos, M. W. (2011). The Best of Both Worlds: Integrating Conscious and Unconscious Thought Best Solves Complex Decisions. Journal of Experimental Social Psychology, 47, 509-511.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third Edition. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

How to Cite

โพธิ์รักษา น., ขันธะหัตถ์ ภ. ., & ยืนยง ธ. . . (2023). การบริหารและการพัฒนาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดสระบุรี: Administration and Development Affecting the Life Quality of the Elderly in Saraburi Province. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(2), 13–28. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/267303