การพัฒนารูปแบบการคิดเสริมพลังการเรียนรู้ (IS3C) โดยใช้สื่อประสม ชุด การหารน่ารู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนขั้นประถมศึกษาปีที่ 3

The development of Learning Empowerment Model (IS3C) by using “Interesting Division” Multimedia Package for Developing Mathematics Learning Achievement for Prathomsuksa 3 Students.

ผู้แต่ง

  • นิตยาพร โนนวิเศษ ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านมะโบ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 2

คำสำคัญ:

รูปแบบ, สื่อประสม, การหาร

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการคิดเสริมพลังการเรียนรู้ โดยใช้สื่อประสมชุด การหารน่ารู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์   80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการคิดเสริมพลังการเรียนรู้ โดยใช้สื่อประสมชุด การหารน่ารู้  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ (3)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้เรียนด้วยรูปแบบการคิดเสริมพลังการเรียนรู้ โดยใช้สื่อประสมชุด การหารน่ารู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ  ประชากร  คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขนาดเล็กในตำบลลานสะแก  อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2  จำนวน 17  คน ปีการศึกษา 2565 กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขนาดเล็กในตำบลลานสะแก  อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2   จำนวน 17  คน  วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจง ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 19  ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ และ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนจำนวน 10 ข้อ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จสำเร็จรูปทางสถิติ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล   ได้แก่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Sample) 

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. ผลการพัฒนารูปแบบการคิดเสริมพลังการเรียนรู้ (IS3C) โดยใช้สื่อประสมชุด การหารน่ารู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นระถมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1. หลักการ 2.วัตถุประสงค์ 3.กระบวนการสอน และ 4. การปะเมินผล   โดยกระบวนการสอน 5 ขั้นได้แก่ ขั้นที่ 1 จูงใจนำเสนอ (incentive to present) ขั้นที่ 2 สืบค้นหาความรู้ (search for knowledge) ขั้นที่ 3 รวบยอดความรู้ (collect knowledge) ขั้นที่ 4 สร้างสรรค์ต่อยอด (create further) และ ขั้นที่ 5 แสดงความคิดสรุปเนื้อหา ( content summary ideas) และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการคิดเสริมพลังการเรียนรู้ โดยใช้สื่อประสมชุด การหารน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นระถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ  80.88/80.39  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

          2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการคิดเสริมพลังการเรียนรู้ โดยใช้สื่อประสมชุด การหารน่ารู้  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการคิดเสริมพลังการเรียนรู้ โดยใช้สื่อประสมชุด การหารน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.18 

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.

ทิศนา แขมมณี . (2553). ศาสตร์การสอน. องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_______. (2558). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่8). กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภูรินทร์ แตงน้อย. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระที่6: โลกและการ. เปลี่ยนแปลง เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พุทธพงษ์ พงษ์พวงเพชร. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนว ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างความรู้และความใฝ่ เรียนรู้ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12(2), 93-106

แผนปฏิบัติการโรงเรียนบ้านมะโบ่. (2564). แผนปฏิบัติการโรงเรียนบ้านมะโบ่. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2

แผนพัฒนาโรงเรียนบ้านมะโบ่. (2563). แผนพัฒนาโรงเรียนบ้านมะโบ่ 2563-2565.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2

วัชรา เล่าเรียนดี. (2552). ทักษะการคิดและการจัดการเรียนรู้. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

วิเศษ พึ่งประยูร. (2562).การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาความคิดเชิงคณิตศาสตร์และจิตคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สถาบันสงเสริมการสอนคณิตศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผล คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูนิเคชัน.

สุรีรัตน์ จุ้ยกระยาง. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทาง คณิตศาสตร์และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Anderson, T. P. (1997). Using models of Instruction. In C. R. Dills and A.J. RomisZowski (eds.), Instructional development paradigms. Englewood Cliffs, NJ : Education Technology Publications.

Arend, B. (1999). Practical instructional dasign: Applying the basics to your online course. Available from http://leahi.kcc.hawaii.deu/org/tcon 99/papers aewnd.html June 21st 2017.

Carroll, M.,Goldman, S., Britos, L., Koh, J., Royallty, A., & Hornstein,M. (2010). Destination, Imagination and the Fires within: Design Thinking in a Middle School Classroom. The International Journal of Art and Design Education, 29(1),37-53. Retrieved October 10, 2016, from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/ 10.1111/j.1476-8070.2010.01632.x

Joyce, B.,& Weil, M. (1996). Model of Teaching (3rd ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Cole, Peter G., and Chan Lorna K.S. (1987). Teaching Principles and Practice. New York: Prentice Hall

Kruse, K. (2012). Instructional design. Retrieved March 14, 2012, from http://www.cognitivedesignsolutions.com/Instruction/LearningTheory.htm.

Kwek, S. H. (2011). Innovation in the classroom: Design Thinking for 21st century Learning. Retrieved October 10, 2016, fromhttps://web.stanford.edu/ group/redlab/cgi-bin/materials/Kwek-Innovation%20In%20The%20Classroom.pdf

Wallerstein, I. (1991). Geopolitics and Geoculture Essays on the Changing World System. Great Britain : University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

How to Cite