การพัฒนาความสามารถการคิดคำนวณของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนไมตรีอุทิศ โดยใช้ชุดฝึกทักษะการบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์ และตัวตั้งไม่เกิน 100,000

Development of Computational Abilities of Primary 3 Of Chumchon Maitri Uthit School Using the Skill Sets for Addition and Subtraction of Counting Numbers Whose Results and Augend and Minuend do not Exceed 100,000

ผู้แต่ง

  • เตชินี หมัดอาดัม นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • นีรนาท จุลเนียม อาจารย์ที่ปรึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ชุดฝึกทักษะการบวก การลบ, จำนวนนับที่มีผลลัพธ์ , ตัวตั้งไม่เกิน 100,000

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์ และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 และ(3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนไมตรีอุทิศ ที่มีต่อการเรียนโดยใช้การบวก และการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์ และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนชุมชนไมตรีอุทิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2562 รวม 24 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดฝึกทักษะ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยการใช้ชุดฝึกทักษะการบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์ไม่เกิน 100,000 สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

            ผลการศึกษาพบว่า

          1. ชุดฝึกทักษะการบวก และการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์ และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 มีประสิทธิภาพร้อยละ 82.28/81.67 เป็นไปตามที่กำหนดไว้

          2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้         

          3.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกทักษะการบวก และการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์ และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

กรมวิชาการ. (2557). เอกสารเสริมความรู้ครูคณิตศาสตร์อันดับที่ 2 ระดับประถมศึกษา เรื่อง ชวนคิดโจทย์ปัญหา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

_______________. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ฉวีวรรณ กีรติกร. (2557). เอกสารประกอบการอบรมการพัฒนาการคิดคำนวณของนักเรียนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด และนิภา ศรีไพโรจน์. (2551). รูปแบบการสอนวิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ. มหาสารคาม:ปรีดาการพิมพ์.

ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2557). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์. วารสารคณิตศาสตร์ ปริมา. 38 (434 - 435) : 62 - 74 ; พฤศจิกายน - ธันวาคม 2557.

พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟแวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์.

ยุพิน ไชยวงศ์. (2557). การทดลองการใช้แบบฝึกโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามรูปแบบการสอนแบบ RPSCP ในการสอนโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิจัยสนเทศ. 14 (165) : 1 - 5 มิถุนายน 2557.

วัลลภา อารีรัตน์. (2552). สอนให้ค้นพบ ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ได้อย่างไร. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 9(1) : 57 - 61 : ตุลาคม 2551 - มกราคม 2552.

วรรณ แก้วแพรก. (2556). คู่มือการสอนเขียนชั้นประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

วรรณี โสมประยูร. (2551). วิธีสอนแบบวรรณี. จันทรเกษม. 9(6) : 25 -27ว มกราคม - กุมภาพันธ์ 2551.

ศศิธร วิสุทธิแพทย์. (2558). แบบฝึกสำหรับสอนเรื่องวลีในภาษาไทย ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัดสำเนา.

Bloom, S. (1979). Taxonomy of Education Objective. (2'd ed). London: Longman Inc.

Walberg, H. J. (1984). Improving the productivity of American school the effective teacher. New York : McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

How to Cite

หมัดอาดัม เ., & จุลเนียม น. (2023). การพัฒนาความสามารถการคิดคำนวณของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนไมตรีอุทิศ โดยใช้ชุดฝึกทักษะการบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์ และตัวตั้งไม่เกิน 100,000: Development of Computational Abilities of Primary 3 Of Chumchon Maitri Uthit School Using the Skill Sets for Addition and Subtraction of Counting Numbers Whose Results and Augend and Minuend do not Exceed 100,000. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(2), 389–401. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/267020